บทบาทของรัฐและชุมชนชายฝั่งในประเทศไทย ต่อการแก้ไขปัญหาจำนวนปูม้าที่ลดลง
คำสำคัญ:
ปูม้า, ธนาคารปูม้า, รัฐและชุมชนบทคัดย่อ
ปูม้าเป็นสัตว์น้ำที่มีการแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศและเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภค ปูม้าจึงมีราคาสูงและถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์จำนวนมากทำให้จำนวนปูม้าลดลง รัฐซึ่งมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาสาธารณะและคนในชุมชนชายฝั่งที่อยู่กับทรัพยากรและเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยตรงต้องมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน บทความนี้ ทำการศึกษาบทบาทของรัฐและชุมชนชายฝั่งในประเทศไทยต่อการแก้ไขปัญหาจำนวนปูม้าที่ลดลง พบว่ารัฐ มีบทบาทต่อการจัดทำนโยบายในภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจำนวนปูม้าที่ลดลงโดยเฉพาะ ก่อให้เกิดโครงการเสริมสร้างชุมชนประมงต้นแบบเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการประมงโดยชุมชน รัฐสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการประมง ชุมชนต้นแบบหลายแห่งได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งธนาคารปูม้า ชาวประมงจะนำแม่ปูที่มีไข่ติดหน้าท้องไปฝากไว้ในถังที่อยู่ในโรงเรือนหรือในกระชังเพื่อช่วยให้ลูกปูมีโอกาสรอดชีวิตแล้วปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยชุมชนเป็นหลักในการบริหารจัดการกลุ่ม จากความร่วมมือกันระหว่างรัฐและชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน ทำให้แก้ไขปัญหาได้สำเร็จ จำนวนปูม้าเพิ่มมากขึ้น
References
กรมประมง. (2553). ยุทธศาสตร์กรมประมง พ.ศ. 2552-2555. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมประมง.
กรมประมง. (2556). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ศูนย์สารสนเทศกรมประมง.
กรมประมง. (2563). รายงานประจำปี 2563 กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20210304101504_1_file.pdf
กรมประมง. (2564). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง.
กรมประมง. (2565). รายงานปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดของไทย. สืบค้นจาก https://www.fisheries.go.th/strategy-tradestat/index.php?option=com_goods&view=imports&layout=search&Itemid=140
กังวาลย์ จันทรโชติ. (2542). รายงานการศึกษาเรื่อง การประมงขนาดเล็กของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
กุลทัศน์ หงส์ชยางกูร และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2556). การสร้างและการบริหารเครือข่าย. สืบค้นจาก http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1598_5f69ce9304e915f69ce.pdf
จินตนา จินดาลิขิต, ลิขิต บุญสิทธิ์, มาลา สุพงษ์พันธุ์, ไพโรจน์ ซ้ายเกลี้ยง และเพ็ญแข เนื่องสกุล. (2554). คู่มือธนาคารปูม้า. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง.
ธงชัย นิติรัฐสุวรรณ, นัยนา คำกันศิลป์ และจันทร์สว่าง งามผ่องใส. (2561). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ปูม้าโดยชุมชนประมง บ้านหยงสตาร์ จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่, 10(4), หน้า 293-305.
เนตรนภา ภูตระกูล. (2555). แนวทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของโครงการเสริมสร้างการจัดการชุมชนประมงต้นแบบ สำนักบริหารจัดการด้านการประมงกรมประมง. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พจนพร แสงสว่าง. (2563, กันยายน 27). รมว.อว. ชื่นชม “โครงการธนาคารปูม้า” ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์งานวิจัย. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/index.php/pr-executive-news/2086-swimming-horse-carb.html
วารินทร์ ธนาสมหวัง. (2556). การบริหารจัดการทรัพยากรปูม้าเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ราชการบริหารส่วนกลาง กรมประมง.
วิษณุกร เบ๊ะกี และพีรชัย กุลชัย. (2563). การพัฒนาธนาคารปูม้าโดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านหินกบ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57. (หน้า 434-441). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)