การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาวะโรคระบาดโควิด-19 บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • เมธี ทรัพย์ประสพโชค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ภาวินีย์ มีผดุง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อรุณ ขยันหา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ศิริวรรณ วิสุทธิรัตนกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ภาวะโรคระบาด, โควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาวะโรคระบาดโควิด-19 บนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์วิเคราะห์สภาพของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาวะโรคระบาดโควิด-19 และการรวบรวมแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้ง ยังรวมไปถึงการเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนในภาวะโรคระบาดของโควิด-19 บนพื้นฐานของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสังคมให้มีการฟื้นฟูและพัฒนาก้าวหน้า โดยยึดหลักของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไขของความรู้คู่คุณธรรม ภาวะโรคระบาดโควิด-19 เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย และทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาล ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน จากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระราชดำริขึ้นมาเพื่อที่จะให้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทยในทุก ๆ ระดับ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว องค์การ ยังรวมไปถึงการพัฒนาประเทศการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับองค์การขนาดใหญ่และขนาดย่อยอย่างชุมชนและครัวเรือน ให้มีการฟื้นฟูและก้าวหน้า โดยยึดหลักความพอประมาณในการใช้ชีวิต ความมีเหตุผลในการตัดสินใจ และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และใช้ชีวิตภายใต้เงื่อนไขของความรู้คู่คุณธรรม

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) สถานการณ์ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ผลกระทบมิติสังคมไทยจาก Covid-19. สืบค้นจากhttps://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650293

ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: ความเป็นมาและความหมาย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2552). วิกฤต 2540 กับความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9.สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=3784

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2563). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจาก https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-economy.html

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550.กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อภิชัย พันธเสน. (2552). วิเคราะห์โยบายรัฐในระดับต่าง ๆ รวมทั้งภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคมจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. 2540-2549). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

SCG NEWS CHANNEL. (2563). “บ้านม่วงชุม” จังหวัดเชียงราย ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยรอดพ้นวิกฤตอาหารในสถานการณ์โควิด-19. สืบค้นจาก https://scgnewschannel.com/th/scg-news/ban-muang-chum-chiang-rai-province/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021