ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในการเมืองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษา: ตำบลธาตุ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ความตื่นตัวทางการเมือง, การเมืองแบบประชาธิปไตยบทคัดย่อ
งานวิจัยความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในการเมืองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษา: ตำบลธาตุ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในการเมืองแบบประชาธิปไตยและศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เยาวชนตำบลธาตุ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ อัตราร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56 อยู่ในช่วงอายุ 16 ปี คิดเป็นร้อยละ 47 เยาวชนส่วนใหญ่สังกัดโรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยาคิดเป็นร้อยละ 48 และเยาวชนส่วนใหญ่ศึกษาระดับชั้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 48 ระดับความคิดเห็นความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในการเมืองแบบประชาธิปไตยในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 3.15, S.D.= 0.92) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อันดับแรกคือด้านสถาบันการศึกษา รองลงมาคือ ด้านความเข้าใจทางการเมือง ด้านสถาบันสื่อมวลชน ด้านสถาบันครอบครัว และลำดับสุดท้ายคือ ด้านกลุ่มเพื่อนและชุมชนแนวทางการเสริมสร้างความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในการเมืองแบบประชาธิปไตยด้านสถาบันการศึกษาควรจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชน ด้านกลุ่มเพื่อนและชุมชนควรมีการพูดคุยและมีส่วนร่วมแบบวิถีประชาธิปไตย ด้านสถาบันสื่อมวลชนควรเน้นการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนหาวิธีการจูงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ด้านความเข้าใจทางการเมืองควรจัดให้มีเวทีประชาธิปไตยในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองสำหรับเยาวชน
References
ทิพาพร ตันติสุนทร. (2558). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ประคอง กรรณสูต. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประหยัด หงส์ทองคำ. (2550). รัฐธรรมนูญ: ในมุมมองทางรัฐศาสตร์ วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(1),หน้า 14 –41.
เยาวภา ประคองศิลป์, ฉันทนา กล่อมจิต, กนกอร ยศไพบูลย์ และกฤตกร กล่อมจิต. (2547). รายงานวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของการศึกษาขั้นพื้นฐาน” กรุงเทพฯ:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัฒนา เซ่งไพเราะ. (2555). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครกับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยช่วงปี พ.ศ.2549-2554. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง, มหาวิทยาลัยเกริก.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.
สถาบันพระปกเกล้า และสํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2550). รายงานวิจัยเรื่อง“การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยและค่านิยมของเยาวชนไทย” กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
เสถียร ปรีดาสา. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างความตื่นตัวทางการเมืองกับพฤติกรรมการเปิดรับและการใช้สื่อมวลชนเพื่อสนองความพึงพอใจของประชาชนจังหวัดมุกดาหาร กรณีการถ่ายทอดสดการประชุมสภาผูู้แทนราษฎร ในช่วงป 2535-2537. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หรูน เพ็งโอ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในตำบลกะลูวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale: Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley&Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)