การศึกษาความแตกต่างของคำพ้องความหมายภาษาจีนในการสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) ระดับ 5

ผู้แต่ง

  • ชนิชา คิดประเสริฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความแตกต่าง, คำพ้องความหมายภาษาจีน, ข้อสอบวัดระดับภาษาจีน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะความแตกต่างด้านความหมาย ไวยากรณ์และการนำไปใช้ของคำพ้องความหมายภาษาจีนในการสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) ระดับ 5 โดยศึกษาเฉพาะคำนามคำกริยาคำคุณศัพท์และคำวิเศษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างด้านความหมายของคำพ้องความหมายแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) การเน้นความหมายแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ (1) เน้นความหมายไปทางตรงข้าม (2) ความหมายเน้นของคำหนึ่งครอบคลุมอีกคำหนึ่ง (3) หน่วยคำต่างกันการเน้นความหมายต่างกัน 2) ระดับความหมายแตกต่างกัน 3) ขอบเขตของความหมายแตกต่างกัน 4) การประยุกต์ใช้ความหมายต่างกัน และ 5) รายการความหมายแตกต่างกันความแตกต่างด้านไวยากรณ์ สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) แตกต่างด้านคุณสมบัติทางไวยากรณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ (1) ชนิดและหน้าที่ของคำ (2) การซ้ำคำ 2) การรวมตัวและการกระจายตัวของคำในประโยค แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ (1) ส่วนหน้าและส่วนหลังของคำพ้องแตกต่างกัน (2) ตำแหน่งของคำพ้องในประโยคต่างกัน และ 3) รูปประโยคที่ปรากฏต่างกันความแตกต่างด้านการนำไปใช้สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) รูปแบบภาษาต่างกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่ (1.1) ภาษาพูดหรือภาษาเขียน (1.2) โอกาสที่นำไปใช้แตกต่างกัน (2) สีสันด้านอารมณ์ความรู้สึกต่างกัน ได้แก่ ความหมายบวก ความหมายลบหรือแฝงความหมายที่แสดงความรู้สึกเคารพนับถือ ทั้งนี้คำพ้องแต่ละคำมีความแตกต่างหลายด้านรวมกัน ดังนั้น การวิเคราะห์ความแตกต่างของคำพ้องควรวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ ร่วมกัน    

References

สุพิชญา ชัยโชติรานันท์. (2558). การศึกษาข้อผิดพลาดการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจในมิติด้านไวยากรณ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), หน้า 116-126.

หลิน ฉายจวิน. (2561). การศึกษาความยากง่ายในการเรียนรู้การจำแนกความต่างคำความหมายใกล้เคียงในภาษาจีนของนักศึกษาไทยในแต่ละระดับ. วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(1), หน้า 143-173.

池昌海. (1998). 五十年汉语同义词研究焦点概述.杭州大学学报, 222), pp. 59-64.

洪炜. (2012). 面向汉语二语教学的近义词研究综述.华文教学与研究, 第4期, pp. 44-51.

洪炜. (2016). 近义词五种差异的习得难度考察.华文教学与研究, 第2期, pp. 10-18.

李禄兴. (2014). 新HSK5000词分级词典4~5级.北京:北京语言大学出版社.

孟祥英. (199). .谈对外汉语教学中的近义词辨析.天津师大学报,第3期,pp. 72-76.

秀莲 (Chanicha Kidprasert). (2016). 泰国华语与汉语普通话书面语差异研究.博士学位论文 汉语言文字学,黑龙江大学.

杨寄洲, 贾永芬. (2003). 1700对近义词语用法对比. (2014.9重印).北京:北京语言大学出版社.

赵新, 洪炜, 张静静. (2014). 汉语近义词研究与教学.北京:商务印书馆.

赵新, 刘若云. (2005). 编写《外国人实用近义词词典》的几个基本问题.辞书研究,4, pp. 57-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022