การอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย เพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน
คำสำคัญ:
การอนุรักษ์, ชุมชนมอญบางเหี้ย, เรือนพื้นถิ่น, แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนบทคัดย่อ
เรือนพื้นถิ่นถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงรากเหง้าทางภูมิวัฒนธรรม บ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลา และบริบทที่แตกต่างกันนั้น สามารถสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องบันทึกเรื่องราวจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านงานช่างสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วยเหตุและหลักที่คำถึงการใช้สอยและการดำรงชีวิตของผู้อาศัยผนวกเข้ากับความเชื่อของท้องถิ่นที่ถูกผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันคงเหลืออยู่จำนวนไม่มาก เพียง 3-4 หลังคาเรือน แต่กลับแสดงลักษณะแสดงเฉพาะตัวของเรือนได้ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยผู้วิจัย พบว่า เป็นเรือนไทยไม้ริมน้ำยกใต้ถุนสูง สร้างเป็นเรือนแฝด 2 หลัง ภายในประกอบไปด้วยวิถีที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมระหว่าง จีน ไทย มอญ ที่ทรงคุณค่าภายในอาคาร ภายนอกอาคารส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา การซ่อมบำรุงใช้ทุนทรัพย์สูง นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เรือนพื้นถิ่นแบบเดิมจึงไม่สามารถตอบสนองความเป็นอยู่แบบใหม่ได้ ทำให้ทายาทปัจจุบันต้องมีการปรับพื้นที่ให้ตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น เรือนเดิมจึงถูกทิ้งไว้เป็นเพียงแค่มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมและภูมิปัญญา จึงนำไปสู่แนวคิดในการออกแบบเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม มอญ จีน ไทย ซึ่งแสดงความพหุวัฒนธรรมของท้องถิ่น และบูรณาการกับการมีส่วนร่วมของชุมชน
References
เกรียงไกร เกิดศิริ, วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ และธนิก หมื่นคำวัง. (2563). เมืองเก่ากับการอนุรักษ์ และพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ดวงกมล สินเพ็ง. (2551). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2559). ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ. (2552). การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ และกฤติญา แก้วพิทักษ์. (2560). 50 แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
ลดา พันธ์วร, รัชดาพร ศรีภิบาล และชนาภรณ์ แสวงทรัพย์. (2551). เกณฑ์มาตรฐานและแนวทาง การดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ.
วันชัย เจือบุญ. (2558). บอกเล่าเรื่องราวชาวชุมชน: ประสบการณ์ บทเรียน การเรียนรู้จากชุมชน. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิวัฒน์ เตมียพันธ์. (2559). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น: รวมบทความทางวิชาการในงานสถาปัตยกรรม พื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล, นิรมล ศตวุฒิ และระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2559) หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สถาบันวัฒนธรรมศึกษา. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม : หอวัฒนธรรมนิทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2557). นิเวศวิทยสถาปัตย์. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Harris, D.A. & Lanham, M.D. (2007). New solutions for house museums : ensuring the long-term preservation of America's historic houses. Walnut Creek, Ca. USA.: AltaMira Press.
Bowyer, J. (1980). Vernacular building conservation. Oxford, UK: Architectural Press.
Hamnett, M.P. & Brislin, R.W. (1980). Research in culture learning: language and conceptual studies. Honolulu, HI USA.: East-West Culture Learning Institute.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)