การจัดการความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการแก้ปัญหา เยาวชนติดสารเสพติด: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล ทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พิชญา เหลืองรัตนเจริญ คณะสังคมศาสตร์และพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: กฎหมาย เยาวชน สารเสพติด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกเสพสารเสพติด สาเหตุการติดสารเสพติด รวมตลอดถึงการรับรู้ข้อกฎหมายและกระบวนการเรียนรู้ด้านกฎหมายของเด็กหรือเยาวชน เพื่อนำมาสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาการติดสารเสพติดของเด็กหรือเยาวชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี โดยศึกษาจากเด็กหรือเยาวชนซึ่งปัจจุบันศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่จำนวน 100 ชุด และผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวน 100 ชุด ใช้วิธีประเมินผลเป็นค่าร้อยละ ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า เด็กหรือเยาวชนที่ติดเสพสารเสพติด อาทิ เหล้า บุหรี่  มีพฤติกรรมเลือกเสพด้วยใจสมัครมิได้ถูกบังคับ สาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมหรือชุมชนที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่มีเด็กหรือเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ อย่างไรก็ดีในเขตพื้นที่ดังกล่าวยังมีผู้สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าในที่สาธารณะโดยหน่วยงานภาครัฐยังมิได้มีการจัดการแต่อย่างใด เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด อันจะส่งผลให้เด็กหรือเยาวชนเกิดการเรียนรู้ว่าการกระทำดังกล่าวสามารถทำได้และนำไปเป็นต้นแบบ เกิดผู้เสพหน้าใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเยาวชนติดสารเสพติดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาชญากรรม ควรมีการกำหนดนโยบายคุมเข้มให้ที่สาธารณะเป็นเขตปลอดสารเสพติด โดยกำหนดเป็นข้อบังคับฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย และควรมีการกำหนดโทษผู้เสพที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

References

กิตติเดช เกียรติมหาชัย. (2555). เรื่องปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการควบคุมตนเองของเยาวชนชายที่กระทําผิด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จิตติมา ธงไชย. (2543). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 : ศึกษาเฉพาะกรณีการคุ้มครองผู้เสียหายและพยานที่เป็นเด็กในการสอบสวน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ ใจหาญ. (2543). การคุ้มครองเด็กในการให้ปากคำในคดีอาญา. วารสารดุลพาห, 47(1), หน้า 5-29.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2540). อาชญากรรม:การควบคุม:การป้องกัน. นนทบุรี: พรทิพย์การพิมพ์.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2549). รายงานการวิจัย เรื่อง การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภูเบศร์ สุนทรจักร. (2558). การเกิดน้อยกับการถดถอยของผลิตภาพไทย. สืบค้นจาก http://www.ftpi.or.th/2015/172

สมภพ เรืองตระกูล. (2535). จิตเวชศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

เสาวลักษณ์ วิจิตร. (2545). การคุ้มครองสิทธิเด็กกระทำผิดจากการสอบปากคำในชั้นสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรมแนวใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022