ละครชาตรีคณะจงกล โปร่งน้ำใจ

ผู้แต่ง

  • ณัฐรียา สามารถ ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ บัณฑิตศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ละครชาตรี, การแสดงละครชาตรี, คณะจงกลโปร่งน้ำใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา องค์ประกอบ รูปแบบและกลวิธีของการแสดงคณะละครชาตรีจงกลโปร่งน้ำใจ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมกับนักวิชาการด้านศิลปะการแสดงไทยและบุคคลในคณะจงกลโปร่งน้ำใจ รวม 10 คน จากนั้นนำข้อมูลมาสังเคราะห์ด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า ละครชาตรีคณะจงกลโปร่งน้ำใจ เป็นคณะละครที่สืบสายมาตั้งแต่ไพร่หลวงเกณฑ์บุญในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่อพยพมาจากนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา มาตั้งรกรากที่บริเวณหลานหลวงในปัจจุบัน และนำเอาละครชาตรีเข้ามาด้วย ซึ่งทางคณะได้ทำการแสดงและอนุรักษ์ละครชาตรีจวบจนถึงปัจจุบัน คณะจงกลโปร่งน้ำใจมีองค์ประกอบการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งเรื่องที่แสดงและเรื่องที่นิยมแสดงเรื่อง สังข์ทอง ตอน พระสังข์เลียบเมือง ผู้แสดงที่ต้องมีการคัดเลือกและฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญ บทละครที่หาฟังได้ยาก วงดนตรีที่ใช้บรรเลงที่เรียกว่า ชาตรีเครื่องใหญ่หรือชาตรีเข้าเครื่อง และการแต่งกายแบบยืนเครื่อง รวมถึงมีกลวิธีในการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทั้ง การร้องประกาศโรงและท่ารำที่ประณีตงดงามเนื่องจากได้รับอิทธิพลการรำจากกรมศิลปากรส่วนหนึ่ง

References

พระยาอนุมานราชธน. (2515). ความหมายของวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์,วัฒนธรรมและธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของไทยโดยเสฐียรโกเศศ (นามแฝง). กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2514.

ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2542). การใช้ภาษาไทยในวงราชการ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ Expernet.

ธนิต อยู่โพธิ์ . (2516). ศิลปะละครรำ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

สมถวิล วิเศษสมบัติ. (2525). วรรณคดีการละคร. กรุงเทพมหานคร : อักษรบัณฑิต.

อรุณวรรณ เกตุอร่าม. (2542). การใช้บทเพลงประกอบการสอนวิชาภาษาไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 = The Use of songs as Thai teaching supplement at the level of Prathom Suksa 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนตรี ตราโมท. (2526) , (2540). “ละครชาตรี”, ในปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

ตรีรัตน์ วิสุทธิพันธ์ จินตนา สายทองคำ และพิมณภัทร์ ถมังรักษ์สัตว์. (2559). เปรียบเทียบอัตลักษณ์ละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรี กับละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการ (Comparison of Lakhon Chatri's Identity of Petchaburi and Samut Prakan). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2021