การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน

ผู้แต่ง

  • นพพร ระรินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ผู้สูงอายุ, การพัฒนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการมีส่วนร่วม บทบาทสำคัญ และการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุเป็นปูชนียบุคคลน่าเคารพและนับถือ จึงต้องส่งเสริมศักยภาพให้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเกือบทุกพื้นที่จะเป็นผู้นำที่สำคัญของชุมชน และเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนในทางจิตใจ สร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ทั้งยังส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชนและให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุนั้น ประกอบด้วย 1) บทบาททางจิตใจ 2) บทบาททางเศรษฐกิจ และ 3) บทบาททางสังคม โดยภาพรวมในการพัฒนาชุมชนนั้นผู้สูงอายุมีบทบาทในหลายด้าน เช่น ปราชญ์ชุมชน ผู้นำด้านจิตวิญญาณ เป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี เป็นคลังสมองของชุมชน เป็นวิทยากร และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของชุมชน

References

ณรัชช์อร ศรีทอง. (2558). กระบวนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทวีทอง หงศ์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.

พลอยพรรณ เชี่ยวชาญ. (2559). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน. การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2561). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2561, กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยอนุเคราะห์ไทย.

รัชชนก กลิ่นชาติ. (2563). บทบาทของพยาบาลในการร่วมพัฒนาชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 18(1), หน้า 193-194.

วรรณษา วงษ์เส็ง. (2558). บทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุด้านประชาสังคมในการพัฒนาชุมชน เขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณษา วงษ์เส็ง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). บทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุด้านประชาสังคมในการพัฒนาชุมชน เขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 75(1), หน้า 1,407-1,408.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริพงษ์ เกี้ยวสกุล. (2555). การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนในการนำพลังผู้สูงอายุมาใช้ในการพัฒนาชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/.pdf

อธิปไตย จาดฮามรด. (2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนศรีฐาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารปัญญา 25(2), หน้า 34-44.

อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 2(3), หน้า 55-60.

เลิศวัลลภ ศรีษะพลภูสิทธิ และธมนพัชร์ ศรีษะพลภูสิทธิ. (2561). การปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), หน้า 259-261.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021