พื้นที่ศิลปะในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจ: ศิลปะชุมชน (Art Community) ผ่านงานพื้นที่ศิลปะในการพัฒนาชุมชนสตรีทอาร์ต (Street Art)
คำสำคัญ:
ศิลปะชุมชน, สตรีทอาร์ต, การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจบทคัดย่อ
สตรีทอาร์ตเป็นรูปแบบของงานศิลปะชนิดหนึ่งที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และพื้นที่ความเป็นชุมชน เมื่อชุมชนมีการสร้างสรรค์ จะก้าวไปสู่เมืองสร้างสรรค์ คนและวัฒนธรรมท้องถิ่นมีส่วนสำคัญที่ทำให้เมืองเป็นพื้นที่ในการแสดงออกของความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการรวมตัวทางสังคม และความเป็นท้องถิ่นนี้เองที่แสดงออกหรือสื่อออกมาทางศิลปะ บทความวิชาการนี้นำเสนอมุมมองของงานสตรีทอาร์ตในประเทศไทยเติบโตขึ้นควบคู่กับการรับรู้ทางสุนทรียะของผู้คนอย่างก้าวกระโดด แสดงออกถึงความโหยหาและความสนใจในงานศิลปะของศิลปินหลากหลาย โดยผู้คนในชุมชนไม่ต้องเดินทางไปชมที่พิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ แต่มีศิลปินมาสร้างสรรค์งานศิลปะที่อยู่บนผนังและพื้นที่บ้านของตนเอง นอกจากงานศิลปะเหล่านี้จะมีผลกับชุมชนทางด้านเศรษฐกิจเป็นจุดแลนมาร์คให้ผู้คนเข้าไปเรียนรู้มากมาย สิ่งหนึ่งที่ส่งผลและไม่อาจวัดค่าเป็นจีดีพีได้คือ คุณค่าที่มีผลต่อจิตใจของผู้คนในชุมชน ที่เกิดความภาคภูมิใจในการมี ส่วนร่วม รักและหวงแหนถิ่นที่อยู่ และทำให้เกิดวัฒนธรรมอันดีงามอย่างยั่งยืน
References
นิชกานต์ เตมียศิลปิน. (2559). ศิลปะชุมชนสามแพร่ง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผู้จัดการออนไลน์. (2563). เนรมิต “คลองโอ่งอ่าง” โฉมใหม่ ชมภาพสตรีทอาร์ตสุดไฉไลกลางกรุง.สืบค้นจาก https://mgronline.com/travel/detail/9630000112781
ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล. (2563). ศิลปะริมคลองสาธร. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/PAIROJPICHETMETAKUL/photos/pcb.48015477 0056141/480154626722822
ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๕ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2564). สตรีทอาร์ตชายแดนใต้ สุนทรีย์บนวิถีพหุวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.isoc5.net/articles/view/317
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ. (2562). โครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN). สืบค้นจาก https://www.bic.moe.go.th/index.php/unesco-others-menu/unesco-menu/uccn-8-7-2562
สาครินทร์ เครืออ่อน. (2556). Relational Aesthetics/ Relational Art. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิงหาแบงคค็อก. (2562). เที่ยวหมู่บ้านสตรีทอาร์ตพญานาค หนึ่งเดียวในโลก ที่ พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต บึง. สืบค้นจาก https://sinehabangkok.com/travel-leisure/life-community-museum-buengkan/#jp-carousel-7492
Bourriaud, N. (2002). Relation Aesthetics. Paris: Les presses.
Jack Ramsdale. (2014). Impact of the Arts on Individual Contributions to U.S. Civil Society. US: Department of Public Administration University of Illinois at Chicago.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)