การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ยั่งยืนโดยการทำเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษาชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วาสนา สุรีย์เดชะกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

เกษตรอินทรีย์, คุณภาพชีวิต, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยงให้ยั่งยืนโดยการทำเกษตรอินทรีย์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ระดับลึกและการสนทนากลุ่ม มีกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นเกษตรกร จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 22–71 ปี การศึกษาไม่เกินระดับมัธยมศึกษา รายได้ต่อเดือน 10,000-30,000 บาท และก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้ง 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสุขภาพ เกษตรกรมีสุขภาพที่ดี เนื่องจากไม่ได้สัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษ 2) ด้านการศึกษา เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการจัดการความรู้ของคนในชุมชน 3) ด้านชีวิตการงาน เกิดการสร้างงานในระดับชุมชน มีความมั่นคงในการทำงาน 4) ด้านรายได้ ผลผลิตมีราคาสูงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค สร้างรายได้ให้ครอบครัวมีเงินออม และลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี ไม่มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น 5) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม การทำเกษตรอินทรีย์ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมและสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ 6) ด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน การทำเกษตรอินทรีย์ทำให้สมาชิกในครอบครัวทำงานในชุมชนไม่ต้องเดินทางไกล เกิดความอบอุ่นในครอบครัว ชุมชนเข้มแข็งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 7) ด้านการคมนาคม การทำเกษตรอินทรีย์สร้างผลผลิตในครัวเรือนได้เป็นจำนวนมาก จึงสามารถลดการเดินทางเพื่อออกไปจับจ่ายซื้อผลผลิตจากแหล่งอื่น ลดการใช้พลังงาน และ 8) ด้านการมีส่วนร่วม ชุมชนเกษตรอินทรีย์จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง มีการสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและการขยายฐานการตลาดในอนาคตต

References

กรมวิชาการเกษตร. (2543). มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการการเกษตร.

กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ. (2560). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 12(1), หน้า 59-90.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติกรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

ทองพูน กองจินดา. (2556). การยอมรับแนวคิดเกษตรอินทรีย์ในทัศนะของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลคมบาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธิดารัตน์ ไชยมงคล และบุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล. (2556). แนวทางการขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรหมู่บ้านโพธิ์ทองเจริญ ตำบลเชิงดอยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 44(2) พิเศษ, หน้า 153-156.

นุชจรี ทัดเศษ. (2544). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเกษตรอินทรีย์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ณรงค์ศักดิ์ น่วมเจริญ. (2558). ผู้นำกับการสร้างชุมชนเกษตรอินทรีย์ศึกษาผ่านผู้นำชุมชนศึกษากรณี: ชุมชนบ้านชำปลาไหล ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ดัชนีความก้าวหน้าของคน ประจำปี 2562.กรุงเทพฯ: บี.ซี.เพรส.

สุพจน์ บุญแรง. (2552). คุณภาพและความปลอดภัยทางอาหารของผักอินทรีย์สดพร้อมบริโภค. เชียงใหม่: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การพัฒนาชุมชน แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา ประเด็นปัจจุบันและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

FiBL and IFOAM. (2017). The World of Organic Agriculture Statistics and Emerging Trends 2017. Switzerland: Frick.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2021