รำวงโบราณชอง

ผู้แต่ง

  • พรศิริ ถนอมกุล วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

รำวง, โบราณชอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา การสืบทอด องค์ประกอบของการแสดง และวิธีการแสดงรำวงโบราณชอง วิธีการศึกษา ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา อัตลักษณ์ของชาวชอง การสืบทอดการแสดง ความผูกพันของรำวงโบราณชองกับวิถีชีวิตชาวชอง องค์ประกอบของการแสดง ลักษณะการแต่งกาย วิธีการแสดง และโอกาสที่ใช้ในการแสดง โดยแบ่งกลุ่มการสัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะการแสดงรำวงโบราณชอง มีการกำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ให้ข้อมูลทั้งสองกลุ่มที่ชัดเจน การสร้างเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบเครื่องมือและข้อมูล ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เพื่อมาเขียนรายงานการวิจัย รำวงโบราณชอง ผลการวิจัยพบว่า รำวงโบราณชองเป็นการแสดงของชาวชองซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นบทร้องที่มีการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชาย-หญิง เนื้อร้องมีทั้งบทร้องภาษาไทย และบทร้องภาษาชอง ซึ่งเป็นการบอกเล่าวิถีชีวิตของชาวชอง โดยมีการสืบทอด แบ่งได้ 2 ระยะ องค์ประกอบการแสดงประกอบด้วย บทร้องจำนวน 11 บทร้อง เครื่องดนตรี ใช้กลองเพลวัด หรือกลองทัด 1 ใบ ตีประกอบจังหวะ ท่ารำเป็นการเกี้ยวพาราสีระหว่างชาย-หญิง

References

ตรี อมาตยกุล. (2520). ประวัติเมืองจันท์และอักขรานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: พับลิเคชั่นเซนเตอร์.

ประกิจ พงษ์พิทักษ์. (2558). การสร้างสรรค์ชุดการแสดง ระบำยันแย่. จันทบุรี: วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรี.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏศิลป์ปริทรรศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020