ความสัมพันธ์ของความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในรูปแบบ 3R ที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่าย ในการกำจัดขยะตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายของประชาชน ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ค่าธรรมเนียมการจัดการและค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ โตประสี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความตระหนัก, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, การมีส่วนร่วม, การจัดการขยะ, ความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย คือ ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในรูปแบบ 3R และความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายของประชาชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบ t-test One-Way ANOVA การถดถอยพหุและสหสัมพันธ์ผลการวิจัยพบว่า 1) ความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2) การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะรูปแบบ 3R อยู่ในระดับค่อนข้างมาก 3) ความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 4) ประชาชนในเขตธนบุรีที่มีอาชีพที่แตกต่างกัน มีความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ด้านการนำกลับมาใช้ใหม่ มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับน้อยที่สุดกับความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และ 6) ด้านการลดอัตราการเสื่อมสูญทรัพยากรธรรมชาติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความเต็มใจที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายของประชาชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 3.4

References

กัญญารัตน์ ลบเมฆ. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมมูลฝอยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกียรติกุล ถวิล. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในรูปแบบ 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปภาวรินท์ นาจาปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลคลองใหญ่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปภาวี วงษ์ทัต. (2560). ความสัมพันธ์ของความตระหนักเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

วีรญา บุญสิน. (2553). ความตระหนักของประชาชนที่มีต่อปัญหาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ อำเภอสมุย จังหวัดสุราษฎธานี. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม,มหาวิทยาลัยมหิดล.

สโรชา นพคุณ. (2545). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้ใช้บริหารบำบัดน้ำเสียที่มีต่อการเก็บค่าธรรมเนียมในการบำบัด กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมรักษ์ กิ่งรุ้งเพชร์. (2541). การมีส่วนร่วมของชาวสมุทรสงครามในการอนุรักษ์แม่น้ำแม่กลอง.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (2559). สถิติข้อมูลประชากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559. สืบค้นจากhttp://office.bangkok.go.th/pipd

ทีมข่าวเดลินิวส์. (2561, พฤษภาคม 10). ขยะในกรุงครึ่งปี 61 เกินหมื่นตันทุกเดือน กทม.เผย สถิติขยะในกรุงครึ่งปี 61 เกินหมื่นตันทุกเดือน. เดลินิวส์ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/Bangkok/642666

ทีมข่าวไทยพีบีเอส. (2559, มีนาคม 17). กรมควบคุมมลพิษยอมรับการจัดการขยะในไทยไม่มีประสิทธิภาพ-ขยะตกค้างเพิ่ม 6 แสนตัน/ปี. ไทยพีบีเอส. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/251019

ทีมข่าวไทยพีบีเอส. (2560, ตุลาคม 16). "กทม." มหานครขยะล้น 4.2 ล้านตันต่อวัน. ไทยพีบีเอส. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/266970

ทีมข่าวไทยรัฐ. (2561, เมษายน 21). สภา กทม.เสนอปรับค่าขยะตามต้นทุน เดือนละ 135 บาท. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/Bangkok

สุรศักดิ์ โตประสี. (2557). วิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020