การศึกษาและพัฒนาต้นแบบสถานศึกษาปลอดการพนันในเกมกีฬา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, รูปแบบ, ปลอดการพนันบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติพฤติกรรมและผลกระทบ การเล่นพนันกีฬาของผู้บริหาร อาจารย์ ผู้ฝึกสอน บุคลากรทางการศึกษาและนักศึกษา จากการจัดทำมาตรการและข้อเสนอแนะต่อการป้องกันไม่ให้การพนันมายุ่งเกี่ยวกับบุคลากรทางการกีฬากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร อาจารย์ ผู้ฝึกสอน บุคลากรทางการศึกษาและนักศึกษา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริหาร อาจารย์ ผู้ฝึกสอน บุคลากรทางการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา ร้อยละ 13.33 เคยเล่นการพนันกีฬา กีฬาฟุตบอล และกีฬามวย เป็นประเภทกีฬาที่นิยมเล่น รับรู้ข้อมูลข่าวสารการเล่นการพนันกีฬาจากเพื่อน ไลน์ (Line) และยูทูป (YouTube) เหตุผลที่เล่นการพนัน เนื่องจากเป็นช่องทางรวยโดยไม่เดือดร้อนใคร เพื่อความตื่นเต้นและเพลิดเพลิน ทัศนคติที่มีต่อการเล่นการพนัน อยู่ในระดับไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.84) ผลกระทบจากการเล่นการพนัน อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.74) 2) นักศึกษา พบว่า ในอดีตที่ผ่านมา เคยเล่นการพนันกีฬาร้อยละ 30.63 นิยมเล่นการพนันกีฬาฟุตบอล มวยและ E-sportกีฬามากที่สุด รับรู้ข้อมูลข่าวสารการพนันกีฬาจากยูทูป (YouTube) เหตุผลที่เล่นการพนัน เป็นช่องทางรวยโดยไม่เดือนร้อนใคร เพื่อความตื่นเต้นและเพลิดเพลิน ทัศนคติที่มีต่อการเล่นการพนัน อยู่ในระดับไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.57) ผลกระทบจากการเล่นการพนัน อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (x̅ = 4.74) และ 3) การป้องกันปัญหาการพนันในเกมกีฬามีการรณรงค์การปลูกจิตสำนึกถึงผลเสียที่เกิดขึ้น มีรายวิชาหรือหลักสูตรการอบรมระยะสั้น ในการป้องกันปัญหาการพนันกีฬา ควบคุมมิให้นักกีฬาผู้ฝึกสอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพนันกีฬาด้วยการกำหนดมาตรการหรือข้อปฏิบัติ
References
จรินทร์ สารทอง. (2561). การสร้างเครือข่ายทางสังคม : กรณีศึกษานักฟุตบอลสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์. การประชุมวิชาการ IPEIC ครั้งที่ 8 สถาบันการพลศึกษา. หน้า 922-926.
จิตรลดา ใหม่ศาสตร์. (2550). ลักษณะพฤติกรรมการพนันฟุตบอล. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ชูพงษ์ จารุดำรงศักดิ์. (2560). ผลกระทบที่มีต่อสังคมและครอบครัวจากการเล่นพนันฟุตบอล. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพศาล ลิ้มสถิต, เชษฐ์ รัชดาพรรณาธิกุล และจุมพล แดงสกุล. (2556). มาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการพนันในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สุริยะ พ่วงสมบัติ. (2550). การพนันฟุตบอลของนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาประยุกต์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Barnlund, D.C. (2008). A transactional model of communication. In. C.D. Mortensen (Eds.), Communication theory (2nd ed.). New Jersey: Transaction.
Lesieur, H., &Rosenenthal, R.(1994). Pathological gambling : A review of the Literature. Journal of Gambling studies, 7, pp. 5-40.
Mark D.G. & Richard T.A. Wood. (1998). Risk Factors in Adolescence: The Case of Gambling, Videogame Playing, and the Internet. Journal of Gambling Studies (JGAMBLSTUD). 6, pp. 199–225.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)