การใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ
คำสำคัญ:
ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ, การใช้ละครสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อก่อนและหลังการใช้ละครสร้างสรรค์ โดยการศึกษาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบุญวัฒนาจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ใช้แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเก็บข้อมูลแบบพรรณนาจากพฤติกรรมของผู้เรียน ผู้วิจัยพบว่า ผู้เรียนสามารถเลือกใช้สื่อค้นคว้าได้อย่างเหมาะสมและเต็มที่ สามารถจดจำและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ สามารถแยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวหรือโฆษณา เข้าใจวัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์แฝงของสื่อ เห็นข้อดีข้อเสียจากการนำเสนอของสื่อ ตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อข่าวอย่างมีวิจารณญาณ เปิดรับข่าวสารที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถออกแบบสื่อ แสดงความคิดเห็นของตน นำเสนอข่าวอย่างเปิดเผย โดยวิพากษ์วิจารณ์ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริงของการนำเสนอข่าวได้และเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการวิพากษ์แสดงความคิดเห็นและใช้ประโยชน์จากสื่อของตนที่นำเสนอให้เกิดประโยชน์ ร่วมถึงคะแนนแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อหลังการจัดกิจกรรมละครสร้างสรรค์ ผู้เรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรรมณิการ์ พงศ์เลิศวุฒิ. (2547). ผลของการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบละครสร้างสรรค์ต่อความมี วินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2552). การสร้างสรรค์ละครแบบมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนม เกตุมาน. (2550). พัฒนาการวัยรุ่น. สืบค้นจาก ้https://www.psyclin.co.th/new_page_56.htm
ปกรณ์ ประจัญบาน. (2558). โครงการวิจัยการวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์. (2546). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การใช้ละครสร้างสรรค์ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ พริกหวานกราฟฟิค.
ภรณี คุรุรัตนะ. (2526). ละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนคนรินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ทวียศ ศรีเกตุ. (2557). ผู้บริโภคกับปัญหาการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1803
นิตยา สุวัณณกีฏะ และคณะ. (2541). ผลของการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความจำและความเข้าใจในเนื้อเรื่อง. พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. (2559). เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ฉลาดรู้ ฉลาดเลือก. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม (2552). รู้เท่าทันสื่อ. สืบค้นจาก http://resource.thaihealth.or.th/media/knowledge/14793
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)