การเปลี่ยนแปลงของเสียงที่สะกดตามเสียงพูดแบบมีข้อจำกัด ในสติ๊กเกอร์ไลน์ภาษาไทย
คำสำคัญ:
การเปลี่ยนแปลงเสียง, การเปลี่ยนแปลงเสียงแบบมีข้อจำกัด, การสะกดตามเสียงพูด, สติ๊กเกอร์ไลน์, ภาษาไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่สะกดตามเสียงพูดแบบมีข้อจำกัด ในสติ๊กเกอร์ไลน์ภาษาไทยฉบับนี้ มุ่งนำเสนอผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเสียงที่สะกดตามเสียงพูดในสติ๊กเกอร์ไลน์ภาษาไทย ตามแนวคิดการเปลี่ยนแปลงของเสียงชนิดมีข้อจำกัด (conditioned sound change) โดยรวบรวมสติ๊กเกอร์ไลน์หมวด Popular creators’ stickers ใน LINE STORE ของ LINE เฉพาะสติ๊กเกอร์ไลน์ชุดที่ปรากฏเป็นอักขระไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยนักวาด (Creators’ stickers)ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ย้อนหลัง จำนวน 20 ชุด มีจำนวนสติ๊กเกอร์ไลน์จำนวนทั้งสิ้น 752 ตัว มีสติ๊กเกอร์ไลน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่สะกดตามเสียงพูดแบบมีข้อจำกัด จำนวน 26 ตัว จากสติ๊กเกอร์ไลน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่สะกดตามเสียงพูดจำนวน 187 ตัว ผลการวิเคราะห์พบการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่สะกดตามเสียงพูดแบบมีข้อจำกัดในสติ๊กเกอร์ไลน์ภาษาไทย 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) สติ๊กเกอร์ไลน์ที่เปลี่ยนแปลงเสียงที่สะกดตามเสียงพูดแบบมีข้อจำกัดคือ กลมกลืนเสียงตามเสียงที่นำมาข้างหน้า และตัดเสียงหรือสูญเสียงจำนวน 22 ตัว คิดเป็นร้อยละ 84.61 และ 2) สติ๊กเกอร์ไลน์ที่เปลี่ยนแปลงเสียงที่สะกดตามเสียงพูดแบบมีข้อจำกัดในภาษาไทยร่วมกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ ตัดเสียงหรือสูญเสียงพยางค์ร่วมกับตัดเสียงหรือสูญเสียงคำ จำนวน 4 ตัว คิดเป็นร้อยละ 15.39 การเปลี่ยนแปลงของเสียงที่สะกดตามเสียงพูดแบบมีข้อจำกัดในสติ๊กเกอร์ไลน์ภาษาไทยที่สังเกตเห็นได้ชัด คือ การตัดเสียงหรือการสูญเสียง เพื่อรวบเสียงให้เหมือนกับการสื่อสารด้วยเสียงพูดเนื่องจากการส่งสติ๊กเกอร์ไลน์เป็นการสื่อสารในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการผ่านสื่อกลางซึ่งก็คือโปรแกรมประยุกต์ LINE ที่ไม่เป็นทางการ
References
ไทยรัฐออนไลน์. (2562, มกราคม 25). คนไทยแห่ใช้ “ไลน์” ทะลุ 44 ล้านคน.ไทยรัฐออนไลน์ สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1479193
ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2561). อัพเดทพฤติกรรมและข้อมูลผู้ใช้งาน LINE ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.twfdigital.com/blog/2018/09/thailandline-stats-and-behaviour/
ณัฐธนธีรา ศรีภา. (2559). เทคนิคการออกเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษที่ไม่มีในภาษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (7)1, หน้า 186-200.
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554). ปัญหาการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัชตพล ชัยเกียรติธรรม. (2559). การใช้คำยืมภาษาอังกฤษแปรหน่วยเสียงในภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(3), หน้า 21-32.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ: วิวัฒนาการภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันภาษาไทย. (2552). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร: วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
อัคร ธนะศิรังกูล. (2561). เสียงแปรในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนไทย.วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย. 41(135), หน้า 86-96.
อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2542). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Linguistics). (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
LINE STORE. (2562ก). Antny. สืบค้น จาก https://store.line.me/stickershop/product/4951078/en
LINE STORE. (2562ข). BearPlease. สืบค้น จาก https://store.line.me/stickershop/product/1204657/en
LINE STORE. (2562ค). Chubby The Wife by Ton-Mai. สืบค้นจาก https://store.line.me/stickershop/product/6680588/en
LINE STORE. (2562ง). Chubby X Nang-Rum Collabaration. สืบค้นจาก https://store.line.me/stickershop/product/6933390/en
LONGDO Dict. (2563. เบย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2562 จาก https://dict.longdo.com/search/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A2
Techsauce Team. (2562). LINE Sticker Creatorไทยเติบโตอันดับหนึ่ง เผยสถิติคนไทยมีสติ๊กเกอร์ไลน์สูงถึง 65 ชุดต่อคน. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563 จาก https://techsauce.co/news/line-sticker-creators-become-the-first-successful-country-in-asia2019
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)