การสร้างสรรค์อัตลักษณ์รำโทนของชุมชนบางกอกน้อย

ผู้แต่ง

  • ชนิดา จันทร์งาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

นาฏยศิลป์สร้างสรรค์, รำโทนบางกอกน้อย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนบางกอกน้อยนำมาออกแบบสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์ ชุด: รำโทนบางกอกน้อย สู่การบูรณาการร่วมกับชุมชน ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์รำโทนของชุมชนบางกอกน้อย มีทั้งหมด 8 ด้าน 1) ด้านวิถีชุมชน 2) ด้านประวัติศาสตร์ 3) ชุมชนพหุวัฒนธรรม 4) ด้านสถาปัตยกรรม 5) ด้านวรรณกรรม 6) ด้านหัตถกรรม 7) ด้านคหกรรม และ 8) ด้านศิลปะการแสดง นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ 1) การคัดเลือกนักแสดง ใช้นักแสดงที่มีทักษะทางด้านนาฏศิลป์ไทย 2) เพลงยึดรูปแบบเพลงรำโทน จำนวน 10 บทเพลง 3) ดนตรี ใช้วงดนตรีรำโทน 4) เครื่องแต่งกาย สมัยรัชกาลที่ 7–รัชกาลที่ 8 5) การแปรแถว แบบอนุรักษ์และปรับปรุงใหม่ และ 6) กระบวนท่ารำ ใช้ภาษาท่านาฏยศัพท์และกระบวนท่าแสดงอัตลักษณ์รำโทน เผยแพร่ผลงานการแสดงในงานเทศกาลแสดงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับนานาชาติ (International Festival of Arts and Culture 2018) ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561

References

กาญจนา อินทระสุนานนท์. (2534). การร้องเพลงประกอบการแสดง ในหนังสือที่ระลึกงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: เม็ดทรายการพิมพ์.

คมสันต์วรรณวัฒน์ สุทนต์. (2541). การศึกษาเพลงรำโทนบ้านหน้าวัดโบสถ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

จักรพันธ์ สุระประเสริฐ. (2558). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้าย: กรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายไทลื้อบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ดำรง ปิ่นทอง. (ม.ป.ป.). เพลงพื้นบ้านประกอบการละเล่นของสิงห์บุรี. สิงห์บุรี: ศูนย์วัฒนธรรม สิงห์บุรี.

นวลรวี จันทร์ลุน. (2546). พัฒนาการและนาฏยลักษณ์ของรำโทนจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผุสดี หลิมสกุล. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบคำสอนรายวิชานาฏยประดิษฐ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์ และคณะ. (2554). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่านเก่าในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภักดิ์ อนุกูล และวลัยพร นิยมสุจริต. (2546). เพลงพื้นบ้าน ภาคกลางและภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

สำราญ จูช่วย. (2555). วิถีชีวิตคนในชุมชนริมคลองบางกอกน้อยตอนบน จังหวัดนนทบุรี ที่สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2021