การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ บ้านมาบหม้อ จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • เกษม มานะรุ่งวิทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะอุตสาหกรรสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น
  • กรชนก บุญทร คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบผลิตภัณฑ์, พัฒนาผลิตภัณฑ์, ผ้าขาวม้าทอมือ

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าทอมือ บ้านมาบหม้อ ชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือ เก็บข้อมูลด้วยการสนทนาและการสัมภาษณ์ โดยมีตัวแทนกลุ่ม ผู้บริโภคและผู้นำท้องถิ่น จำนวน 20 คน เพื่อนำประเด็นปัญหาที่ได้สู่การพัฒนา เพราะปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจคุณภาพสินค้าและราคา โดยคุณภาพของสินค้ามีปัจจัยการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ผู้วิจัยจึงแบ่งกระบวนการเพื่อหาคำตอบด้านคุณภาพ ประกอบด้วยการทดสอบหาสมบัติของเส้นใย สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการพัฒนาด้านการผลิต พบว่า ด้านการทดสอบเส้นใย ความแข็งแรงต่อการฉีกขาดมีความแข็งแรงต่อการฉีกขาดในแนวเส้นด้ายยืนมีค่าน้อยกว่าในแนวเส้นด้ายพุ่ง ความคงทนของสีต่อการซักล้าง ความคงทนของสีต่อน้ำ ค่าความคงทนของสีต่อเหงื่อมีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสี และค่าความคงทนต่อการติดเปื้อนสี มีค่าอยู่ในระดับดีมาก ความคงทนของสีต่อแสงที่ได้อยู่ในระดับดีและความคงทนของสีต่อการขัดถูอยู่ในระดับดีมาก ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคเลือกคำตอบผลิตภัณฑ์กระเป๋า ลวดลายสก๊อตที่มีขนาดเล็กและใหญ่ใช้โทนสีเย็น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาต้นแบบ จำนวน 5 รูปแบบ สำหรับด้านกระบวนการผลิตได้ใช้เครื่องมือในการผลิตที่มีอยู่ผลิตสินค้าและใช้วัสดุอื่น ๆ ประกอบเพื่อสร้างความแตกต่างและความหลากหลายของของสินค้าที่มากขึ้นกว่าเดิม

References

ธีระวัฒน์ จันทึก และเสรี ชัดแช้ม. (2557). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของ วิสาหกิจชุมชน. วารสารการเมืองการบริหารและกฏหมาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นรเทพ โปธิเป็ง, ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม และรัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์. (2563). สมบัติความคงทนของ สี และสมบัติทางกายภาพของผ้าฝ้ายที่พิมพ์ซิลค์สกรีนด้วยสีดินแดง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 14(2), หน้า 91-103.

ประภาศรี จันทร์โอ. (2564). การศึกษาผ้าขาวม้าของชุมชนภาคกลางเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการวิจัยและงานสร้างสรรค์, 7(1), หน้า 73-88.

ภารดี มหาขันธ์ และนันท์ชญา มหาขันธ์. (2558). ประวัติศาสตร์สังคมภูมิปัญญาท้องถิ่นอ่างศิลา. นนทบุรี: องสาสบายดี.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2556). พิพิธอาชีวการกรณีย์ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ากับการสงเคราะห์อาชีพในเมืองชลบุรีในบรมราชเทวีชลบุรีสถิตสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ากับเมืองชลบุรี. กรุงเทพ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Intertek Labtest. (2004). Apparel and Soft Home Furnishing Textile Products Buyer’s Guide. Kowloon: Intertek Testing Services Hong Kong.

Kotler, P. (1997). Marketing Management. New Jersey: PrenticeHall Inc.

Wenger, E.C. & Snyder, W.M. (2000). Communities of Practice: The Organizational Frontier. Harvard Business Review, 78(1), pp. 139-146.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2021