การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ โดยใช้แอปพลิเคชัน Echo English

ผู้แต่ง

  • วิลดา ศรีทองกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน Echo English, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเพื่อหาประสิทธิภาพของการใช้แอปพลิเคชัน Echo English ในการพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร รวมถึงเปรียบเทียบทักษะการฟัง-พูด ในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ จำนวน 60 คน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 11 คน คณะวิทยาการจัดการ โปรแกรมวิชาการจัดการโลจิสติกส์ จำนวน 49 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนแอปพลิเคชัน Echo English 2) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) สูตร t-test dependent ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น (reliability) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (validity) สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) และใช้สูตรการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ E1/E2 ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประสิทธิภาพของการใช้แอปพลิเคชัน Echo English ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ 87.02/85.14 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังการเรียนของนักศึกษาในวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 26.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 6.64 คะแนนหลังเรียนโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 51.08 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.01 3) ผลความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่า มีภาพรวมอยู่ในมีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄= 4.27, S.D. = 0.12)

References

กฤษณา สิกขมาน. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจโดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กรมวิชาการ. (2542). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ปีที่ ๒ (วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙). สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/upload/news_policyPRAYUT/FileUpload/44902-4020.pdf

กุศยา แสงแดช. (2548). ภาษาอังกฤษภาคปฏิบัติสำหรับครูประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม็ค

แกมกาญจน์ แสงหล่อ. (2560). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามสภาพแวดล้อมการเรียนส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายสังคม สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), หน้า 286-299.

ดวงเดือน แสงชัย. (2533). การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

พิตรวัลย์ โกวิทวที และคณะ. (2525). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาอังกฤษแบบครูเป็นศูนย์กลางกับแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). การประเมินทางการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทียมฝ่า.

ภัคกร แก่นสูงเนิน. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสถานการณ์จำลองวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Buying and Selling สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (2554). ระบบและกลไกพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สืบค้นจาก http://reg.dru.ac.th/registrar/reg2550/approved/Guide%20mechanism.pdf

ละเอียด จุฑานันท์. (2539). แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

วิภาดา ประสารทรัพย์. (2542). พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วริสสร วิรัชนีกรพันธุ์. (2557). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทักษะที่ส่งผลต่อความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), หน้า 479-494.

วิไลพร ธนสุวรรณ. (2530). เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ. เชียงใหม่: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิธร ลิจันทร์พร. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธาพร ภายะรถี. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตฝึกทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุนันทา กสิวิวัฒน์ (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุมิตรา อังวัฒนากุล. (2537). วิธีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2530). การสอนทักษะภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาภรณ์ หงษ์สุวรรณ. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชยการ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชยการ.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการอบรมการสร้างแอพพลิเคชั่น 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล. สืบค้นจาก http://www.secondary42.obec.go.th/doc/CEFR7-2-58.pdf

สายใจ ฉิมมณี. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียการอ่านวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางช้างใต้. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรณัน เผื่อนพึ่ง. (2555). การพัฒนาหลักสูตรอบรมการใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การทำภาพสติ๊กเกอร์ด้วย iPAD2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Byrne, D. (1976). Teaching Oral English. London: Longman Group UK.

Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical bases of communicative approaches to second language teaching and testing. Applied Linguistics, 1(1), pp. 1-47.

Fries C.C. (1970). Teaching and Learning English as a Foreign Language. (22nd ed.). Michigan: The University of Michigan Press.

Harmer, J. (1986). How to teach English. (5th ed.) London: Pearson Education.

Hedge, T. (2000). Teaching and Learning in the Language Classroom. Oxford: Oxford University Press.

Johnson K. (1979). The Communicative Approach to Language Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Richards, J.C., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching. (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Rivers W.M. (1980). Teaching Foreign Language Skills. Chicago: The University of Chicago Press.

Savigonon, S.J. (1990). Communicative Competence. Massachusettes: Addision Wesley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019