การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในหนังสือตำรับอาหารไทย

ผู้แต่ง

  • เต๋อหยุ่ง หลี่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ซัลมาณ ดาราฉาย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การเชื่อมโยงความ, คำเชื่อม, หนังสือตำรับอาหารไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อจำแนกประเภทของการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในหนังสือตำรับอาหารไทย และ 2) เพื่อศึกษาความถี่ของการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในหนังสือตำรับอาหารไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลภาษาที่เก็บรวบรวมมาจากวิธีปรุงอาหารในหนังสือตำรับอาหารไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออัตราส่วนร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาปรากฏว่า การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมจำแนกเป็น 16 ประเภท เรียงตามลำดับความถี่ในการปรากฏจากมากไปน้อย ได้แก่ การเชื่อมโยงแสดงเวลา (ร้อยละ 28.89) การเชื่อมโยงแสดงความคล้อยตาม (ร้อยละ 16.00) การเชื่อมโยงแสดงสถานที่ (ร้อยละ 14.96) การเชื่อมโยงแสดงการอ้างถึง (ร้อยละ 8.59) การเชื่อมโยงแสดงลักษณะ (ร้อยละ 6.96) การเชื่อมโยงแสดงเครื่องมือ (ร้อยละ 6.67) การเชื่อมโยงแสดงเหตุ (ร้อยละ 5.78) การเชื่อมโยงแสดงสิ่งที่มีส่วนร่วม (ร้อยละ 4.59) การเชื่อมโยงแสดงแหล่งที่มา (ร้อยละ 2.81) การเชื่อมโยงแสดงการเลือก (ร้อยละ 2.07) การเชื่อมโยงแสดงเจ้าของ (ร้อยละ 0.89) การเชื่อมโยงแสดงตัวอย่าง (ร้อยละ 0.89) การเชื่อมโยงแสดงการเปรียบเทียบ (ร้อยละ 0.30) การเชื่อมโยงแสดงการแนะนำ (ร้อยละ 0.30) การเชื่อมโยงแสดงผล (ร้อยละ 0.15) และการเชื่อมโยงแสดงการยกเว้น (ร้อยละ 0.15) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมมักเป็นการเชื่อมโยงแสดงเวลา การเชื่อมโยงแสดงความคล้อยตาม และการเชื่อมโยงแสดงสถานที่ ตามลำดับ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและปฏิบัติตามวิธีปรุงอาหารได้ตามขั้นตอนทีละขั้น

References

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนหน้า (2559). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

จิรายุ งามเหมาะ. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการเชื่อมโยงความในนวนิยายที่แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลธิชา บำรุงรักษ์. (2558). ระบบข้อความ. ใน ดียู ศรีนราวัฒน์ และชลธิชา บำรุงรักษ์ (บ.ก.), ภาษาและภาษาศาสตร์ (หน้า 133-168). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชื่นจิตต์ อธิวรกุล. (2553). การเชื่อมโยงความและความเกี่ยวข้องของเรื่องที่สนทนาในการสนทนาแบบเป็นกันเองระหว่าเพศชายและเพศหญิง. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โตมร ศุขปรีชา. (2559). ประวัติศาสตร์กินได้. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลต์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

นันทิกานต์ ศิลปศร. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบการเชื่อมโยงความในรายการสารคดีไทยและสารคดีไทยแปลทางโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์. (2558). อาหารและวัฒนธรรมการกินคนอาเซียหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.

วิทยาลัยดุสิตธานี. (2558). ตำรับอาหารไทย. กรุงเทพฯ: แสงแดด มีเดีย กรุ๊ป.

สุวัฒชัย คชเพต. (2553). การเชื่อมโยงความในเรื่องเล่าของเด็กไทยอายุ 4-7 ปีที่มีพื้นฐานสิ่งแวดล้อมต่างกัน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2552). สัมพันธสาร. ใน วิจินตน์ ภาณุพงค์ และคณะ (บ.ก.). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร (หน้า 117-144). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, สถาบันภาษาไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019