การวางแผนทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์การในอนาคต
คำสำคัญ:
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์, กลยุทธ์ทรัพยากรมนุษย์, องค์การในอนาคตบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิด กระบวนการ กลยุทธ์ทรัพยากรมนุษย์ และเสนอแนวทางการวางแผนทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์การในอนาคต จากการศึกษาสรุปได้ว่า การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นการวางแผนความต้องการคนในอนาคตเพื่อให้องค์การสามารถใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต ซึ่งกระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์หลักและรอง 2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 3) การพยากรณ์อุปสงค์ทรัพยากรมนุษย์ 4) การคาดคะเนอุปทานทรัพยากรมนุษย์ 5) เปรียบเทียบอุปสงค์กับอุปทานทรัพยากรมนุษย์ และ 6) กำหนดกลยุทธ์ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจำแนกเป็น 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์ธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ 2) กลยุทธ์จัดการความขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ และ 3) กลยุทธ์ลดทรัพยากรมนุษย์ ข้อเสนอแนวทางวางแผนทรัพยากรมนุษย์สำหรับองค์การในอนาคตเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมขององค์การ อีกทั้งองค์การต้องให้ความสำคัญในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 5 เรื่อง คือ 1) การยกระดับความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 2) พัฒนาองค์การให้เกิดประสิทธิภาพก่อนวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 3) พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต 4) เลือกกลยุทธ์นำเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนกำลังคน และ 5) การสร้างสมดุลระหว่างการดึงดูด สร้าง รักษาและแสวงหาบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลเข้ามาทำงานในองค์การ
References
กิ่งพร ทองใบ. (2560). การวางแผนและการจัดหาทรัพยากรมนุษย์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและการคัดเลือก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิระพงค์ เรืองกุน. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2559). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิณี เพชรสว่าง. (2561). กลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มานิต ศุทธสกุล. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์และการกำหนดตำแหน่ง. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยามรัฐ. (2562). 9 Soft Skills ที่คนทำงานควรมีในปี 2019. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/70261
Armstrong, M. (2006). Strategic Human Resource Management : A Guide to Action. (3th ed.). London: Kogan Page.
Huat, T.C., & Torrington, D. (1998). Human Resource Management for Southeast Asia and Hong Kong. (2nd ed.). Singapore: Prentice-Hall.
Mathis, R.L., & Jackson, J.H. (1997). Human Resource Management. (8th ed.). St. Paul, MN: West Publishing Company.
Noe, R.A., Hollenbeck, J.R., Gerhart, B., & Wright, P.M. (2010). Human Resource Management. (7th international ed.). New York: McGRAW-Hill.
Wilton, N. (2016). An Introduction to Human Resource Management. (3rd ed.). London: Sage Publication Ltd.
World Economic Forum. (2018). The Future of Jobs Report 2018. Retrieved from http://www3.weforum.org/docs/WEF_Future_of_Jobs_2018.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)