กลวิธีทางศัพท์ของคำโฆษณาน้ำหอมในแผ่นปลิว
คำสำคัญ:
กลวิธีทางศัพท์, โฆษณา, น้ำหอม, แผ่นปลิวบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางศัพท์ของคำโฆษณาบรรยายกลิ่นน้ำหอมในแผ่นปลิว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแผ่นปลิวโฆษณาน้ำหอมในแผนกเครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้ารวม 25 แผ่น วิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบแนวคิดกลวิธีการใช้ศัพท์ของ จันทิมา อังคพณิชกิจ (2561) และแนวคิดการรับประสาทสัมผัสของ กันสตรีม (Gunstream, 2006) ผลการศึกษาพบว่า คำโฆษณาบรรยายกลิ่นน้ำหอมในแผ่นปลิว ใช้กลวิธีทางศัพท์แสดงกลิ่นผ่านประสาทสัมผัสมากที่สุด กลวิธีทางศัพท์แสดงอารมณ์ความรู้สึก กลวิธีทางศัพท์แสดงส่วนผสมของน้ำหอม กลวิธีทางศัพท์แสดง อัตลักษณ์ของน้ำหอม และกลวิธีทางศัพท์แสดงกาลเวลา ตามลำดับ
References
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัศนีย์ บุนนาค. (2545). น้ำหอม สุนทรียสื่อสารการตลาด “De Luxe”. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้งพอยท์.
ทิพย์สุดา ปทุมานนท์. (2540). สถาปัตยกรรมกัมปนาทแห่งความสงัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทนา วงษ์ไทย. (2552). อุปลักษณ์ประสาทสัมผัสในภาษาไทย : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ ปริชาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
บุญชิต ว่องวานิช. (2523). ตำราเครื่องสำอาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
เบญจวรรณ ศริกุล, จินตนา พุทธเมตะ และอัครา บุญทิพย์. (2555). วิเคราะห์ภาษาแผ่นพับโฆษณาเครื่องสำอางปี พ.ศ. 2551. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(7), หน้า 77-107.
พัชรนันท์ รักตประจิต. (2555). การสื่อสารเรื่องกลิ่นของผลิตภัณฑ์น้ำหอมในโฆษณานิตยสารผู้หญิง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีระ จิรโสภณ. (2540). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรชร มณีสงฆ์. (2546). การตลาดทางตรง. เชียงใหม่: The Knowledge Center.
อรัญญา มโนสร้อย. (2529). เครื่องสำอาง. เชียงใหม่: ศูนย์พิมพ์ดีดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Marsmag. (2557, พฤษภาคม 30). กลิ่นน้ำหอมกับเอกลักษณ์ที่เป็นคุณ. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/marsmag/detail/9570000058441
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)