การบริหารความเสี่ยงทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหารความเสี่ยง, การบริหารการคลัง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความนี้อธิบายถึงการบริหารความเสี่ยงทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ได้ศึกษาสิ่งที่เป็นความเสี่ยงทางการคลัง พร้อมทั้งแนวทางการตอบสนองต่อความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบปัญหาและอุปสรรคในด้านประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ โดยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะพึ่งพารายได้จากรัฐบาลเป็นสัดส่วนที่สูงมาก และปัญหาการบริหารการคลัง โดยเฉพาะการบริหารค่าใช้จ่าย อาทิ การบริหารงบประมาณที่ขาดประสิทธิภาพ ปัญหาการบริหารบุคลากรทางการคลัง การขาดประสิทธิภาพในการจัดทำข้อมูลทางการคลัง ปัญหาการตรวจสอบทางการคลัง อีกทั้งปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานการคลังท้องถิ่นและการเลี่ยงภาษี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตอบสนอง ความเสี่ยงทางการคลังที่เป็นการลดความเสี่ยง ซึ่งมีแนวทางที่เป็นองค์ประกอบหลักของการบริหารจัดการงานคลังที่ดี คือ 1) กระบวนการบริหารงบประมาณที่ดี 2) การพัฒนาบุคลากรทางการคลัง 3) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารระบบการเงินการคลังของท้องถิ่น และ4) การทบทวนกระบวนการทำงานด้านการคลังอย่างสม่ำเสมอ
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563).รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2020/1/2286_6124.pdf
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และนโยบาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563). ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2560-2569. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/visit/stategics.pdf
โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ปิยธิดา โคกโพธิ์. (2555). ปัญหาการคลังท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลนิคมคำสร้อย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไพรัช ตระการศิรินนท์. (2548). การคลังภาครัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา จิตนุพงศ์. (2560). ปัญหาการบริหารการคลังของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี, หน้า 320-331.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ซีโน ดีไซน์.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2556). ถอดรหัสการจัดเก็บภาษีอากรของท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2551). การบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2556). การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวคิดและการปฏิบัติกรณีศึกษาประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุษณา ภัทรมนตรี. (2548). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Kendrick, T.(2009). Identifying and managing project risk. (2nd Ed) US: American Management Association.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)