การศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ พรมฉลวย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สุขภาวะ, เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่, สมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุและศึกษาปัญหา อุปสรรคข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ผู้วิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างและพื้นที่การศึกษา คือ ผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ จำนวน 359 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสุขภาวะของผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและ ด้านสติปัญญา มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาวะด้านสติปัญญา (gif.latex?\bar{x} = 4.00) และสุขภาวะด้านสังคม (gif.latex?\bar{x} = 3.75) อยู่ในระดับมาก ส่วนสุขภาวะด้านร่างกาย (gif.latex?\bar{x} = 3.49) สุขภาวะด้านจิตใจ (gif.latex?\bar{x} = 3.43) อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สุขภาวะด้านร่างกายมีความรู้สึกพอใจกับสุขภาพในขณะนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.67) สุขภาวะด้านจิตใจ รู้สึกพึงพอใจในชีวิต (เช่น มีความสุข ความสงบ ความหวัง) อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.79) สุขภาวะด้านสังคม ท่านสามารถผูกมิตรหรือเข้ากับคนอื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.35) สุขภาวะด้านสติปัญญา คือเข้าใจได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความไม่เที่ยงแท้และแน่นอน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.98)

References

กนกวรรณ ปรีดิ์เปรม. (2559). ศึกษาสุขภาวะของพระสงฆ์ผู้ถือธุดงควัตรของวัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่. (2562). บัญชีรายชื่อประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี. สืบค้นจาก http://preakasamai.go.th/public/texteditor/data/index/menu/498

จักรพันธ์ พรมฉลวย. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชน ปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นในการส่งเสริมนโยบายด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระครูประภากรสิริธรรม. (2560). การศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตชุมชนท่าอิฐ วัดแสงสิริธรรม ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2554). การทำวิจัยทางสังคม หลักการปฏิบัติวิธีปฏิบัติและสถิติ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เลอลักษณ์ มหิพันธุ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะทางปัญญาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(2), หน้า 30-42.

วิไลวรรณ อาจาริยานนท์. (2559). รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 6(2), หน้า 18-31.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2017.pdf

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดฉบับทบทวน 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565). สมุทรปราการ: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ..

อุไรรัตน์ หน้าใหญ่. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Arjariyanon, W. (2016). Happy Life Model for the Elderly Based on Dhamma Principles. unpublished Master’s Thesis, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Best, W. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Tishbeic, M. (Ed). Reading in Attitude Theory and Measurement, (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Mossey, J.M., & Shapiro, E. (1982) Self-rated health: A predictor of mortality among the elderly. American Journal of Public Health, 72, pp. 800-808.

Wallace, B.A., & Shapiro, S.L. (2006). Mental Balance and Well-Being. American Psychological Association, 61(7), pp. 690-710.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2021