การศึกษาปัจจัยและแนวทางป้องกันตามหลักเบญจศีล เพื่อส่งเสริมการไม่กระทำความผิดซ้ำ ของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ศิลป์ชัย ลีลิตธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • วงศกร เพิ่มผล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การกระทำผิดซ้ำ, แนวทางป้องกัน, หลักเบญจศีล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำ และศึกษาแนวทางป้องกันตามหลักเบญจศีล เพื่อลดการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลาง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำ จำนวน 312 คน การศึกษาวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาพบมากในเพศชายอายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาประถมศึกษา สถานภาพโสด อาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท สมาชิกในครอบครัว 5-7 คน กระทำผิดซ้ำเฉลี่ยจำนวน 4 ครั้ง เกี่ยวกับยา เสพติด อาศัยอยู่กับบิดามารดา สภาพแวดล้อมเป็นชุมชนเมืองที่มีผู้จำหน่ายและเสพยาเสพติด สมาชิกในครอบครัวเคยต้องโทษคดียาเสพติด พฤติกรรมส่วนตัวส่วนใหญ่เคยเสพยาเสพติด เล่นการพนัน เที่ยวสถานบันเทิง และการคบเพื่อนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สาเหตุในการกระทำผิดซ้ำเกิดจากตัวผู้กระทำผิดเองเป็นสำคัญเพราะต้องการเงินมาอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ชีวิต ด้านปัจจัยพบว่า ปัจจัยด้านครอบครัว ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ หรือด้านความเชื่อเกี่ยวกับการกระทำผิด การฝ่าฝืนข้อห้ามตามหลักเบญจศีล จากการวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจัยทุกด้านมีผลต่อการกระทำผิดซ้ำในระดับปานกลาง แนวทางป้องกันตามหลักเบญจศีล พบว่าหลักเบญจศีลเป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานของบุคคล การฝ่าฝืนเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น การประพฤติปฏิบัติตามหลักเบญจศีลเป็นการแก้ไขการกระทำผิดซ้ำไม่ให้เกิดขึ้นได้

References

ทรงเกียรติ์ เม่นสุวรรณ์. (2559). แนวทางการเสริมสร้างสันติภาพตามหลักศีล 5 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยเขตนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทรรศพล ขุนรัง. (2556). สาเหตุการกระทำผิดซ้ำคดีเกี่ยวกับทรัพย์: ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดฐานลักทรัพย์นักโทษเด็ดขาดฝ่ายควบคุมแดน 8 เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

บัณฑิต พิทักษ์สิทธิ. (2556). การวิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติด: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง, สืบค้นจาก http://elib.coj.go.th/managecourt/data/MC2557_17_66.pdf

ปกรณ์ มณีปกณ์. (2553). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เวิลด์เทรดประเทศไทย.

ปกรณ์ มณีปกณ์. (2555). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: เวิลด์เทรดประเทศไทย.

พระมหานิกรปลัดสังข์ วิษณุ และสุมิต สวรรค์. (2560). การรักษาศีล 5 กับการสร้างสันติสุขในสังคมไทยให้ยั่งยืน กรณีศึกษาหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ 44, 13(3), หน้า 118-125.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (สุทัศน์ วรทสฺสี). (2552). เบญจศีลเบญจธรรม อุดมชีวิตของมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ต้นบุญ.

มานิตย์ จุมปา. (2562).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระชัย เหล่าลงอินทร์, เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ, สุวกิจ ศรีปัดถา, และพัชนี บูระพันธ์. (2552).

การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(1), หน้า 109-128.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2544). ศีลในพระพุทธศาสนา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สถิต แก้วปัญญา, ประจญ กิ่งมิ่งแฮ, และไพศาล แน่นอุดร. (2562). แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังคดียาเสพติดเรือนจํากลางอุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), หน้า 1-17.

อัคคกร ไชยพงษ์. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังชายในเรือนจำ เขต 8. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), หน้า 106-127.

Buikhuisen, W., & Hoekstra, H.A. (1974). Factors related to recidivism. British Journal of Criminology, 14(1), pp. 63–69.

Rosansky,J. (2010). Reducing Recidivism: Stopping the Trend of Criminal Relapse in America. Retrieved from https://www.palmbeachstate.edu/academicservices/Documents/reducing_recidivism.pdf

ManudeepBhuller, Gordon B.D., Katrine V.L. & Magne, M. Incarceration, recidivism and employment national bureau of economic research, Retrieved from http://www.nber.org/papers/w22648

Tannenbaum, F. (1938) Crime and the community. Retrieved from https://babel.hathitrust.org/cgi/pt?id=mdp.39015003659664&view=1up&seq=12

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2021