การแปรศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นยะลาหมู่บ้านตังกาเด็ง: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น

ผู้แต่ง

  • วาริด เจริญราษฎร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การแปรของภาษา, ภาษาไทยถิ่นยะลา, การสัมผัสภาษาถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแปรศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นยะลาตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา โดยใช้ทฤษฎีการสัมผัสภาษาถิ่น ตัวแปรทางภาษาในการวิจัย ได้แก่ คำศัพท์จำนวน 156 หน่วยอรรถ คำศัพท์ที่มีเสียงวรรณยุกต์กลางขึ้นตก (343) ในคำว่า ยา ยาง เย็น ยืน ยืม อยู่ อย่าง และคำศัพท์ที่มีการรวมเสียงวรรณยุกต์ช่อง DL23 กับ C23 เป็นวรรณยุกต์กลางระดับ (33) ผู้บอกภาษาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน รวมผู้บอกภาษา 30 คน ได้แก่ กลุ่มอายุมาก กลุ่มอายุวัยกลางคน และกลุ่มอายุน้อย มีอายุตั้งแต่ 20-25 ปี ผลการวิจัยด้านการแปรศัพท์พบว่า การใช้ศัพท์เก่าที่เป็นภาษาไทยถิ่นยะลา มีแนวโน้มจะลดลงเรื่อย ๆ จากผู้บอกภาษากลุ่มอายุมากไปยังผู้บอกภาษากลุ่มวัยกลางคนและกลุ่มอายุน้อยตามลำดับ ในขณะที่รูปแปรภาษามลายูถิ่นและรูปแปรภาษาไทยมาตรฐานมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงสำคัญของภาษาไทยถิ่นยะลา คือ พบการใช้รูปแปรที่เป็นภาษาถิ่นในระหว่าง (interdialect form) ซึ่งเกิดจากการประสมกันระหว่างศัพท์เก่าและรูปแปรภาษามลายูถิ่น ส่วนผลการวิจัยด้านการแปรเสียง พบว่าเสียงวรรณยุกต์กลางขึ้นตก (343) ในคำว่า ยา ยาง เย็น ยืน ยืม อยู่ อย่าง และเสียงวรรณยุกต์กลางระดับ (33) ในวรรณยุกต์ช่อง DL23 ซึ่งรวมเสียงกับ C23 มีการแปรตามระดับอายุของผู้บอกภาษา และอยู่ระหว่างกระบวนการแปรที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต กล่าวได้ว่าภาษาไทยถิ่นยะลาเกิดการสัมผัสภาษาถิ่นกับภาษามลายูถิ่นและภาษาไทยมาตรฐาน ในลักษณะที่ลู่เข้าหาภาษามลายูถิ่นและภาษาไทยมาตรฐาน

References

ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2559). การแปรของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตตามอายุ: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญา อาภากุล. (2540). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาพื้นที่ภาษาของภาษามลายูถิ่น ภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป และภาษาไทยถิ่นตากใบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยใช้เกณฑ์การกระจายศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วาริด เจริญราษฎร์. (2561). การแปรและภาพสะท้อนวัฒนธรรมของคำศัพท์หมวดตัดในภาษาไทยถิ่นใต้และภาษามลายูถิ่นปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สว่างจิต พงศ์ศรีวัฒน์. (2529). ภาษาไทยถิ่นที่ใช้ในปัจจุบัน จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา. (2562). รายงานสถิติจังหวัดยะลา. ยะลา: สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา.

Brown, M.J. (1985). From Ancient Thai to Modern Dialcets. Bangkok: Social Science Association Press of Thailand.

Diller, A.N. (1976). Toward a Model of Southern Thai Diglossic Speech Variation. Unpublished doctoral’s thesis, Cornell University.

Gedney, M.J. (1972). A Checklist for Determining Tones in Tai Dialects, Estellie M.S. (Ed.). Studies in Linguistic In Honor of George L. Trager, (pp. 18-22). Mouton: The Hague.

Labov, W. (1972). Sociolinguistics Pattern. Philadephia: University of Pennsylvania Press and Oxford Blackwell.

Trudgill, P. (1986). Dialects in Contact. Oxford: Blackwell.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2021