การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน กรณีศึกษา บริษัท สยามควอลิตี้ อินดัสทรี้ส จำกัด
คำสำคัญ:
การบริหารทรัพยากรมนุษย์, การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน, โรงงานอุตสาหกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน และ 3) เพื่อหาแนวทางการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยเลือกวิธีการแบบเจาะจง สำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการด้านความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 5 คน กลุ่มที่ 2 หัวหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยในการทำงาน บริษัท สยามควอลิตี้ อินดรัสทรี้ส จำกัด จำนวน 5 คน และกลุ่มที่ 3 พนักงานที่ปฏิบัติงาน บริษัท สยามควอลิตี้ อินดรัสทรี้ส จำกัด จำนวน 10 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพปัญหาระบบการบริหารงานด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 2) ปัจจัยการจัดการความปลอดภัย โดยที่โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการทำงานที่ปลอดภัยโดยกำหนดถึงทิศทาง เป้าหมาย วิธีการ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมควบคู่ไปด้วยกัน และต้องมีการประเมินผลทบทวน เพื่อดูผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานในทุกระดับตามตัวชี้วัดที่ตกลงร่วมกัน และ 3) แนวทางการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน คือ (1) ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย (2) ควรเพิ่มและเสริมสร้างให้เกิดการตระหนักด้านความปลอดภัย และ (3) ควรปรับทัศนคติซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความปลอดภัย
References
คมสันต์ ธงชัย ณัฐพงศ์ เครือศิริ และธนัสนี สมบูรณ์. (2552). การจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(4), หน้า 76-92.
พรรธิภา มีโภคา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานในระบบการเกษตรไทย: เกษตรแผนใหม่กับเกษตรทางเลือก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
Birgerdotter., L. et al. (2006). Functioning systematic work environment management in small enterprises – experiences from 45 small workplaces. Retrieved from http://www.ivl.sc/en/business/work/[2006].
Colin, (1999). Benchmarking Health and Safety Performance Through Company Safety Competitions. Benchmarking for Quality Management & Technology: MCB University Press.
Genaidy, A. et al. (2007). The work compatibility improvement framework: an integrated perspective of the human-at-work system. Ergonomics Journal, 50(1), pp. 3-25.
Heinrich, H.W. (2010). Organizational Behavior: Human Behavior at Work. New York: McGraw-Hill.
Miles, M.B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook (2nd Ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Petersen, D. (1971). Techniques of safety management. McGraw-Hill Book Company: New York
Clarke, S. (2006). Safety Climate in An Automobile Manufacturing Plant: The Effects of Work Environment, Job Communication and Safety Attitudes on Accidents and Unsafe Behavior. Personnel Journal, 35(4), pp. 443-430.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)