กระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาโขน

ผู้แต่ง

  • กิตติ์พิสิธ ญาณกิตตินุกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พีรเทพ รุ่งคุณากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้, การถ่ายทอดความรู้, ภูมิปัญญาโขน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาโขนของครูโขนประชากรเป็นครูโขนหรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแสดงโขนกรมศิลปากร โขนชาวบ้าน และโขนประยุกต์ จำนวน 13 ท่าน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่ผ่านการพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน โดยมีความเชื่อมั่นระหว่าง 0.6-0.8 ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการถ่ายทอดและเรียนรู้ภูมิปัญญาโขนสู่ศิลปกรรมร่วมสมัย สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) โขนในระบบโรงเรียน และ 2) โขนนอกระบบโรงเรียน โดยสามารถสรุปกระบวนการเรียนรู้ของครูโขนออกเป็น 7 ประเด็น ดังนี้ 1) มุมมองในภูมิปัญญาโขน 2) แรงจูงใจของผู้เรียน 3) รูปแบบการเรียนการสอน 4) ลักษณะครู 5) บรรยากาศการเรียนการสอน 6) ความสามารถในการเรียนรู้ และ 7) วิธีการเรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาโขน แบ่งออกได้เป็น 6 ประเด็น ได้แก่ 1) มุมมองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและที่มีต่อนักเรียนในปัจจุบัน 2) มุมมองที่ครูมีต่อตนเอง 3) รูปแบบและวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาโขน 4) สิ่งแวดล้อมและการใช้สื่อการเรียนรู้ 5) ปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอดความรู้และการแก้ไขปัญหา และ 6) ข้อเสนอแนะในการถ่ายทอดภูมิปัญญา

References

ฉันทนา สันธนากร เอี่ยมสกุล. (2554). นาฏลีลาอาเซียน. กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส.

ธีรภัทร์ ทองนิ่ม. (2555). โขน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ. (2542). โขน. กรุงเทพฯ: เอส.ที.พี.เวิลด์ มีเดีย.

พีรเทพ รุ่งคุณากร. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชาการศึกษาตามอัธยาศัย นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2021