การละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย ถือเป็นการลงโทษทางสังคมของผู้กระทำความผิดกฎหมายตามทฤษฎีการลงโทษหรือไม่

ผู้แต่ง

  • อมลณัฐ สนั่นศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว, สิทธิในความเป็นส่วนตัว, ข้อมูลส่วนตัวทฤษฎีการลงโทษ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านจากหนังสือพิมพ์หรือรับชมจากรายการข่าวในโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย และเว็บไซต์ที่ประชาชนทั่วโลกใช้บ่อยมากที่สุดเว็บหนึ่งคือเฟซบุ๊ก ซึ่งได้รับความนิยมในประเทศไทยเช่นเดียวกัน โดยเราสามารถพูดคุย พิมพ์ข้อความโต้ตอบบุคคลที่อยู่ห่างไกลกัน หรือสร้างเพจในสิ่งที่เราสนใจได้ ส่งผลให้ปัจจุบันมีการกระจายข่าว หรือให้กระจายความช่วยเหลือโดยใช้ เฟซบุ๊กเป็นช่องทาง เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบจากการใช้เฟซบุ๊กจะพบว่ามี การละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งการเปิดเผยชื่อ อายุ ที่อยู่ สถานที่ทำงาน และข้อมูลส่วนตัวของครอบครัวผู้กระทำผิดกฎหมาย หรือกระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำและเมื่อการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นที่สนใจของชาวเน็ต ทำให้บุคคลเหล่านี้ถูกละเมิดสิทธิดังกล่าวและตกเป็นจำเลยของสังคมซึ่งถือเป็นการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งส่งผลกระทบต่ออาชีพ การทำงาน อีกด้วย บางคนถึงกับถูกไล่ออกจากงานซึ่งสาเหตุมาจากการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ซึ่งสิทธิความเป็นส่วนตัวเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมี แม้จะเป็นผู้กระทำความผิดทางกฎหมายก็ตาม บางคนมีความเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กระทำความผิดกฎหมาย หรือผู้ที่กระทำในสิ่งไม่สมควร เป็นเรื่องปกติที่ตนเองมีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการลงโทษจากการกระทำผิดกฎหมาย หรือสิ่งที่ไม่สมควร ซึ่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่กลับถูกละเมิดสิทธิดังกล่าว ด้วยเหตุที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรพึงกระทำได้ เมื่อบุคคลใดทำผิดกฎหมายบุคคลนั้นควรได้รับโทษตามกฎหมาย ไม่ใช่ได้รับโทษทางสังคม ดังนั้นจึงเป็นที่มาของบทความนี้ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวโดยเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กระทำผิดกฎหมาย ถือเป็นการลงโทษผู้กระทำผิดตามทฤษฎีการลงโทษหรือไม่

References

นพมาศ เกิดวิชัย. (2557). การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

นฤมน วงศ์คุ้มพล. (2551). ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนันต์ ลิขิตธนสมบัติ. (2557). มาตรการการลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิดในคดีสิ่งแวดล้อม. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กรุงเทพ . (การอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 13)

เรวดี ขวัญทองยิ้ม. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว (Right to Privacy). สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

เต็มจิต ฉั่วริยะกุล.(2557). การลงโทษ ความหมาย หลักทฤษฎีและปรัชญาว่าด้วยการบังคับใช้โทษประหารชีวิตในปัจจุบัน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2018