การจัดการสิทธิและสวัสดิการคนพิการตามกฎหมาย ของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการ, สิทธิ, สวัสดิการ, คนพิการ, เทศบาลเมืองแสนสุขบทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนคนพิการเพิ่มสูงขึ้น การจัดสวัสดิการและการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่ในระดับการบริหารราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่อง สิทธิประโยชน์ของคนพิการ 26 ประการ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและมีการจัดสวัสดิการในทุกด้านให้กับคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและการได้รับบริการสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างง่ายและทั่วถึง ซึ่งการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและการบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบัน ในส่วนของการจัดการเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถใช้สิทธิได้จริง ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิ สวัสดิการของคนพิการตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง และนำวิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดการสิทธิและสวัสดิการคนพิการตามกฎหมายของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี เพื่อให้รับรู้ถึงการเข้ารับสิทธิขั้นพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2561). บริการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพ. ค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2561, จาก https://bit.ly/2HSbZeB
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2561). สิทธิประโยชน์ของคนพิการ. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2561, จาก https://med.mahidol.ac.th/health_service/th/km/15feb2018-1335
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาชีวิตคุณภาพคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2561, จาก https://bit.ly/2K7YjwW
ธนาชัย สุนทรอนันตชัย. (2553). สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางด้านการศึกษาของคนพิการในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นลัทพร ไกรฤกษ์. (2560). PA ผู้ช่วยคนพิการ งานหลักคือให้คนพิการได้ตัดสินใจ. ค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2561, จาก https://thisable.me/content/2017/08/261
พรธิดา วิเศษศิลปานนท์ และคณะ. (2556). การติดตามการเข้าถึงสิทธิของคนพิการและการพัฒนารูปแบบระบบสวัสดิการที่ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแหงชาติ, คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัทรกิติ์ โกมลกิติ. (2551). ชีวิตและข้อจำกัดด้านการเดินทางของคนพิการ. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 51 (1) : 68-69.
มยุรี ผิวสุวรรณ. (2556). CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.
ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2558). สิทธิประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพของคนพิการ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 35 (2) : 69-87.
ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2550). การจ่ายเบี้ยความพิการ. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2561, จาก https://bit.ly/2qS1H6M
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์. (2550). คู่มือการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561, จาก https://bit.ly/2qWJmoG
สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2552). การศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ออน อาร์ต ครีเอชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)