โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและแนวทางการส่งเสริมความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุธีรา สีมา สาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ สาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, แนวทางการส่งเสริมความสุขในการทํางาน, ครูมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงผสมผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผล ต่อความสุขในการทํางานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา และศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสุขในการ ทํางานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษาเชิง ปริมาณ และการศึกษาเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณใช้วิธีการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามกับครู สังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี จํานวน 600 คน และการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิง ลึกกับครูจํานวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขใน การทํางานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี 2) แนวทางการส่งเสริมความสุขในการทํางานของครู มีดังนี้ (1) ด้านความพึงพอใจในการทํางาน ครูควรได้รับภาระ งานตรงตามความสามารถและความถนัด ได้รับโอกาสในการลาศึกษาต่อและเข้ารับการอบรมตามความ ต้องการ โรงเรียนควรมีความร่มรื่นมีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี (2) ด้านสัมพันธภาพในที่ทํางาน ควรมีการประชุมเพื่อหาแนวทางในการทํางาน โดยทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ครูควรเป็น ผู้ที่มีความจริงใจ อัธยาศัยดี ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นและมีจิตสาธารณะ (3) ด้านภาวะผู้นํา ควรมีการ วางแผนการทํางานที่ชัดเจน สามารถพูดคุยให้คําปรึกษาได้ (4) ด้านบรรยากาศองค์กร ควรมีการวาง โครงสร้างการทํางานที่แน่นอน มีการให้รางวัลในโอกาสพิเศษต่าง ๆ และสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นและรับผิดชอบในหน้าที่ และ (5) ด้านบรรยากาศในครอบครัว ครูควรให้เวลากับ ครอบครัวในการพูดคุยทํากิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันอยู่เสมอ

References

ชยากานต์ เปี่ยมถาวรพจน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงลักษณ์วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Lisrel) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative research. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

พจนรินทร์ เหลืองอรัญนภา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพนา พัวรักษา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาสารคาม. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). แนวทางเพื่อการเรียนรู้ การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ธัญยากร อัญมณีเจริญ. (2555). ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธีรดา สืบวงษ์ชัย. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธานิชา มุลอามาตย์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยะพร วงษ์อุดม. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาพื้นที่ทุรกันดารภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูริชญา ยิ้มแย้ม. (2556). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). การวิจัยการติดตามสภาวการณ์ครูรายจังหวัด (Teacher watch) และการสร้างตัวแบบการพัฒนาครูที่สนองตอบสภาวการณ์และปัญหาในการทำงานของครู. กรุงเทพฯ: สถาบันครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (2560). ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (ชลบุรี-ระยอง). สืบค้นจาก https://www.spm18.go.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/Ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422

ศิริญญา สุวัฒ. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

MacCallum, R.C., Widaman, K.F., Zhang, S., & Hong, S. (1999). Sample Size in Factor Analysis. Psychological Methods, 4, pp. 84-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2021