การเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผลระหว่าง ผงถ่านกัมมันต์ในสารชำระล้าง กับ Wet Powder ในการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนเทปกาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาน้ำยาตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาวจากผงถ่านกัมมันต์ และศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและประสิทธิผล กับการใช้ Wet Powder ซึ่งเป็นสารเคมีสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศ การเปรียบเทียบประสิทธิผลกระทำโดยการทดลองตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาว 3 ชนิด ได้แก่ เทปใส เทปแลคซีล และเทปกาวปิดกล่อง จากนั้นทำการเปรียบเทียบด้วยการให้ค่าคะแนนตามเกณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝง และการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระทำโดยการจัดการสัมภาษณ์ (Interview) โดยมีอาสาสมัครเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝง เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จากการวิจัยพบว่า น้ำยาตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาวจากผงถ่านกัมมันต์ สามารถทำให้รอยลายนิ้วมือแฝงบนด้านเหนียวของเทปกาวทั้ง 3 ชนิด ปรากฏขึ้นได้เมื่อผสมน้ำยาในอัตราส่วนที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีประสิทธิผลที่ทัดเทียมกับการใช้ Wet Powder และมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ Wet Powder
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Stoilovic, Milutin, Lennard, Chris. (2012). Fingermark Detection & Enhancement Incorporating Light Theory and General Forensic Application of Optical Enhancement Techniques. Forensic service, Australian Federal Police.
U.S. Department of Justice. (2014). The Fingerprint Sourcebook. Office of Justice Programs.
Kesorn, B. (2014). Development of Reagent for The Detection of Latent Fingerprints on The Adhesive side of Adhesive Tapes [Master’s Thesis, Silapakorn University]. Silpakorn University Respository (SURE). http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/1
(In Thai).
Caracciolo A. B., Cardoni M., Pescatore T., Patrolecco L. (2017). Characteristics and environmental fate of the anionic surfactant sodium lauryl ether sulphate (SLES) used as the main component in foaming agent for mechanized tunnelling. Environmental Pollution. 226, pp. 94-103.
Loungaroon, U. (2018). Detection of Latent Fingerprints on Adhesive side of Tape by using Black Powder with Dishwashing [Master’s Thesis, Silapakorn University]. Silpakorn University Respository (SURE). http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2
(In Thai).
Thongthammachad, R. (2018). The Development of Fingerprint Powder Made from Black Rice Husk for Detecting Latent Fingerprints on Different Type of Surfaces [Master’s Thesis, Royal Police Cadet Academy].Forensic RPCA. https://drive.google.com/file/d
/1r_e_6Y1bBU4Jk44sqk-fvtQ_6mb_9Bcs/view. (In Thai).
Kaur, K., Shamar, T., Kaur, R,. (2020). Development of Submerged Latent Fingerprint on Non-Porous Substrates with Activated Charcoal based Small Partical Reagant. Indian Journal of Forensic Medicine Toxicology. 14(3), pp. 387-394.