https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/issue/feed วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ 2025-05-23T00:00:00+07:00 Usanut Sangtongdee, Ph.D. usanut@rpca.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Journal of Criminology and Forensic Science) ดำเนินการตีพิมพ์บทความอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 </p> <p>เปิดรับผลงานวิชาการประเภทบทความ ทั้งบทความวิชาการ (Academic) และบทความวิจัย (Research) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม ผู้สนใจทั่วไป นักวิชาการ นักวิจัยอิสระ ตลอดจนครูอาจารย์ และนักศึกษาทุกระดับชั้น</p> <p>ขอบเขตเนื้อหามุ่งเน้นครอบคลุมทั้งอาชญาวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ และกระบวนการยุติธรรม ส่วนประเด็นน่าสนใจ อาทิ การสืบสวนสอบสวน การป้องกันปราบปราม การตรวจพิสูจน์หลักฐาน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นต้น</p> <p>มีวัตถุประสงค์เผยแพร่ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติซึ่งสามารถนำมาอ้างอิง ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/272923 การตรวจพิสูจน์พันธุกรรมสำหรับใช้ติดตามและตรวจสอบแหล่งที่มาของสัตว์ป่าของกลาง 2025-01-13T10:54:03+07:00 กิติชยา เพ็ญชาติ pang_jstp6@hotmail.com ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง sirirat@su.ac.th ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ natapot.w@chula.ac.th <p>การตรวจพิสูจน์พันธุกรรมถือเป็นงานด้านนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญกับการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานเพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสวน ติดตามแหล่งที่มาสัตว์ป่าของกลาง เนื่องจากสัตว์ป่าแต่ละชนิดมีเขตการกระจายพันธุ์ที่จำเพาะกับสัตวภูมิศาสตร์ เช่น ช้างเอเชีย ช้างทุ่งแอฟริกา ช้างป่าแอฟริกา เสือโคร่ง เสือดาว และลิ่นชนิดหลากหลายชนิด ทำให้สามารถใช้เขตการกระจายพันธุ์ของสัตว์ในการติดตามแหล่งต้นกำเนิดของสัตว์ ข้อมูลพันธุกรรมสัตว์ป่าใช้ระบุความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่าง พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งเป็นพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ในการยืนยันคำกล่าวอ้างจากผู้ครอบครองสัตว์ป่า ว่ามีแหล่งที่มาจากการสืบพันธุ์ในกรงเลี้ยงหรือไม่ในกรณีที่มีข้อสงสัย และในการแจ้งครอบครองสัตว์ป่าตามกฎหมาย ซึ่งพยานหลักฐานที่ได้จากกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ การตรวจพิสูจน์พันธุกรรมสัตว์ป่าจึงช่วยสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการลักลอบค้าสัตว์ป่าของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาไซเตส</p> 2025-06-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/271292 ภาพรวมการพัฒนาวิธีในการตรวจหาลายนิ้วมือในทางนิติวิทยาศาสตร์ 2024-10-01T11:53:22+07:00 สุนทรต์ ชูลักษณ์ sunthornc@buu.ac.th <p>การตรวจหาลายนิ้วมือในสถานที่เกิดเหตุยังคงเป็นวิธีหลักเพื่อใช้ระบุตัวบุคคลในการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ โดยลายเส้นที่ปรากฏบนปลายนิ้วมือจัดเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในปัจจุบันการตรวจหาลายนิ้วมือนั้นมักใช้วิธีที่อาศัยสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโนโดยใช้สารประกอบเพอร์ฟลูออโรอัลคิลและโพลีฟลูออโรอัลคิลเป็นตัวทำละลาย โดยที่สารเคมีเหล่านี้มักถูกพ่นลงบนวัสดุที่ใช้ตรวจสอบเพื่อให้รอยนิ้วมือปรากฏขึ้น อย่างไรก็ตามสารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงสามารถทำอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้ จึงเริ่มมีการพัฒนาวิธีในการตรวจหาลายนิ้วมือที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอันตราย มีประสิทธิภาพที่ดีในการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้งานมากขึ้น บทความปริทัศน์นี้จะกล่าวถึงประวัติการใช้ลายนิ้วมือในงานทางนิติวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบทางเคมีและกายวิภาคของลายนิ้วมือ การใช้เทคนิคการตรวจหาลายนิ้วมือด้วยไอระเหยของสารไซยาโนอะคริเลต รวมถึงเทคนิคที่ใช้สารนินไฮดรินและไอโอดีนเป็นตัวตรวจสอบ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการพัฒนาเทคนิคใหม่ในการตรวจหาลายนิ้วมือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัยสูงสำหรับผู้ปฏิบัติงานโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายและยังได้กล่าวถึงทิศทางของงานวิจัยในอนาคตเพื่อปรับปรุงและพัฒนาวิธีการตรวจหาลายนิ้วมือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2025-06-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/272166 การประยุกต์ใช้คลื่นเทระเฮิรตซ์ในงานนิติวิทยาศาสตร์: ความก้าวหน้า ความท้าทาย และแนวโน้มในอนาคต 2025-01-21T10:57:07+07:00 กัณฑ์เอนก โภคากรเงิน maxsinews@gmail.com พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์ wirinwinu4289@gmail.com อรณิชา คงวุฒิ ornnicha.k@kru.ac.th <p style="font-weight: 400;">การประยุกต์ใช้คลื่นเทระเฮิรตซ์ในงานนิติวิทยาศาสตร์กำลังเปิดมิติใหม่ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการสืบสวนคดีอาชญากรรม บทความนี้นำเสนอภาพรวมของเทคโนโลยีคลื่นเทระเฮิรตซ์ ทั้งในด้านหลักการทางฟิสิกส์ เทคโนโลยีการตรวจจับและวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์ คุณสมบัติเฉพาะของคลื่นเทระเฮิรตซ์ เช่น ความสามารถในการทะลุทะลวงวัสดุที่ทึบแสง ความไวต่อการตรวจจับสารเคมี และความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพสูงในการตรวจสอบเอกสารปลอมแปลง การวิเคราะห์สารเสพติดและวัตถุระเบิด ตลอดจนการตรวจหาลายนิ้วมือแฝง การวิเคราะห์กรณีศึกษาและผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าวิธีการดั้งเดิมในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายทั้งในด้านต้นทุน ความซับซ้อนของเทคโนโลยี และประเด็นทางจริยธรรมและกฎหมายที่ต้องได้รับการแก้ไข บทความนี้ยังนำเสนอแนวโน้มและการพัฒนาในอนาคต รวมถึงข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยและพัฒนาเพื่อปลดล็อกศักยภาพเต็มที่ของเทคโนโลยีคลื่นเทระเฮิรตซ์ในงานนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับความแม่นยำและประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรม</p> 2025-06-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/274688 การออกแบบและทดลองใช้สื่อการสอนเพื่อป้องกันการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2025-01-28T08:51:57+07:00 กิตติพงษ์ เพียรพิทักษ์ benzfighttor@gmail.com อรรถพล กาญจนพงษ์พร attapol.kan@mahidol.ac.th <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดลองใช้สื่อการสอนเพื่อป้องกันการใช้เทคโนโลยีที่ไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมได้ในหลายแง่มุมอันเป็นผลมาจากอัตราการใช้เทคโนโลยีที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเริ่มต้นจากการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มกับผู้บริหาร ครู และบุคลากร 22 คน รวมถึงการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 341 คน พร้อมทั้งนำไปทดลองใช้กับนักเรียน 136 คน ผลการศึกษาพบว่าสื่อการสอนที่เหมาะสมควรเป็นรูปแบบอนิเมชั่นและมีเนื้อหาครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ การโกงข้อสอบ การพนันออนไลน์ และการปลูกจิตสำนึก หลังจากนำไปทดลองทำให้ทราบถึงความคิดเห็นเชิงบวกที่มีต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดจากแรงจูงใจ การรู้เท่าทัน ทัศนคติ และการรับรู้ของนักเรียน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ แนวทางการวิจัยในอนาคตควรมุ่งเน้นการออกแบบวิธีการสอนควบคู่ไปกับการพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่ออาชญากรรมทางสังคมในวงกว้าง</p> 2025-05-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/271403 การศึกษาปริมาณธาตุองค์ประกอบและสัณฐานของอนุภาคเขม่าดินปืนอาวุธปืนยาวที่เกิดจากการเหนี่ยวไกด้วยนิ้วเท้าโดยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด 2025-01-27T21:04:46+07:00 วฉัตรชนก ธรรมกาย ntchutchanok_t@hotmail.com ธิติ มหาเจริญ m_thiti@yahoo.com <p>สังคมกำลังเผชิญปัญหาทั้งโรคระบาดและเศรษฐกิจตกต่ำ ล้วนทำให้เกิดภาวะความเครียด ผู้คนไม่อาจหาทางออกของปัญหาที่เผชิญอยู่ ทำให้การเกิดอาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น หลายกรณีใช้ปืนยาวก่ออัตวินิบาตกรรมโดยนิ้วเท้าเหนี่ยวไกปืน มักใช้ปืนลูกซองก่อเหตุเนื่องด้วยเป็นอาวุธที่ผู้คนทั่วไปถือครองได้ การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปริมาณธาตุองค์ประกอบและสัณฐานของอนุภาคเขม่าดินปืนที่เกิดจากการเหนี่ยวไกด้วยนิ้วเท้า ด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้ปืนยาว 2 แบบ ได้แก่ ปืนลูกซองไบคาล และ ปืนไรเฟิล เรมมิ่งตัน .308 และใช้กระสุนปืนจำนวน 4 ชนิด ในการทดลองประกอบด้วย กระสุนไรเฟิล (Rifle), กระสุนลูกซองลูกโดด (Slug), กระสุนลูกซองลูกปราย (80xBB) (Birdshot) และกระสุนลูกซองลูกเก้าเม็ด (Buckshot) พบว่าปริมาณธาตุองค์ประกอบที่สำคัญหลังจากยิงปืนจากกระสุนทั้ง 4 ชนิด เทียบจากกระสุนชนิดเดียวกันในแต่ละช่วงเวลาหลังจากยิงตั้งแต่ 0, 2, และ 6 ชั่วโมง ในธาตุชนิดเดียวกันมีปริมาณค่าเฉลี่ย % weight ไม่แตกต่างกัน และสัณฐานของอนุภาคเขม่าดินปืนจากกระสุนทั้ง 4 ชนิด พบว่ารูปทรงค่อนข้างกลม มีพื้นผิวคล้ายส้ม แสดงให้เห็นว่าระยะเวลาที่เก็บตัวอย่างทั้ง 3 ช่วงเวลาสามารถตรวจพบธาตุองค์ประกอบที่สำคัญ (ธาตุพลวง, ธาตุแบเรียม และ ธาตุตะกั่ว) ที่ใช้ในการยืนยันได้ว่ามาจากเขม่าดินปืนหลังจากการยิงปืน ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์หลักฐานในคดี เป็นการช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับวัตถุพยาน และนำไปสู่การตัดสินความผิดหรือการยืนยันความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์</p> 2025-05-07T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/272931 ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติของนักศึกษา คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิต: กรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 2025-01-08T13:20:11+07:00 พีรกานต์ บุษยพรรณพงศ์ peerakarn.b610@gmail.com มูฮำหมัด นิยมเดชา momoniyom@yahoo.com กิตติศักดิ์ เหมือนดาว pak-baby@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจ ระดับทัศนคติ และระดับความรู้ต่อกฎหมายกระท่อมฉบับใหม่ (พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ.2565) กรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชี<br />ยาเสพติดประเภทที่ห้า 2) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ ระดับทัศนคติ และระดับความรู้ต่อกฎหมายกระท่อม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยมีวิธีการศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 500 คน การศึกษาใช้วิธีสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพืชกระท่อม ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 และความรู้ต่อกฎหมายกระท่อมฉบับใหม่ ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง อายุ ระดับชั้นปีที่ศึกษา ภูมิลำเนา และการเคยได้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับยาเสพติดส่งผลต่อด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพืชกระท่อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเคยได้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับยาเสพติดส่งผลต่อทัศนคติของนักศึกษาต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถานภาพการสมรส และการเคยได้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับยาเสพติดส่งผลต่อความรู้ทั่วไปของนักศึกษาที่มีต่อกฎหมายกระท่อมฉบับใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2025-05-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/276287 การศึกษาเปรียบเทียบการชันสูตรพลิกศพระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ: แนวทางพัฒนากระบวนการยุติธรรม 2025-03-26T07:51:00+07:00 จิรัตน์ สอนกระต่าย art3090355@gmail.com วรธัช วิชชุวาณิชย์ woratouch_w@yahoo.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการชันสูตรพลิกศพระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของระบบในแต่ละประเทศเพื่อหาแนวทางพัฒนากระบวนการชันสูตรพลิกศพในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร และการศึกษาเปรียบเทียบระบบการชันสูตรพลิกศพในประเทศไทย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยใช้ระบบที่พึ่งพาบทบาทของตำรวจเป็นหลัก ในขณะที่ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการใช้แพทย์เฉพาะทาง ส่วนสหรัฐอเมริกาเน้นการบริหารจัดการในระบบศาลและระบบผสม นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านกำลังคนและทรัพยากรในประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดตั้งองค์กรเฉพาะทาง การพัฒนาทักษะบุคลากร และการลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อยกระดับกระบวนการยุติธรรมในไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2025-05-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/274902 การตรวจพิสูจน์น้ำมันเบนซินบนผ้าต่างชนิดกันโดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี 2025-01-20T15:36:01+07:00 กนกพร บัวดอก kanokpornbuadok@gmail.com ธิติ มหาเจริญ thiti@rpca.ac.th <p>การวางเพลิงเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้เพลิงไหม้ยังทำให้การหาพยานหลักฐานเพื่อเชื่อมโยงไปยังตัวผู้กระทำผิดมีความสำคัญอย่างยิ่ง การตรวจหาน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างพยานหลักฐานและผู้ต้องสงสัยในการวางเพลิง วัตถุประสงค์ของการทำการวิจัยในครั้งนี้มีเพื่อการตรวจพิสูจน์น้ำมันเบนซินบนผ้าต่างชนิดกัน โดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี (FTIR) ในการทดลองหยดน้ำมันเบนซินปริมาตร 50 µl ลงบนผ้าตัวอย่าง 6 ชนิดได้แก่ ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าลินิน ผ้าไนลอน ผ้าโพลีเอสเตอร์ ผ้าเรยอน ผ้าไหมอิตาลี เก็บตัวอย่างของน้ำมันเบนซินบนผ้าต่างชนิดกัน ในช่วงเวลาดังนี้ เก็บตัวอย่างทันที 1 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง และ 6 ชั่วโมงนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี (FTIR) จากการทดลองได้ โครมาโทแกรมที่สามารถระบุได้ว่าเป็นน้ำมันเบนซินได้แก่ เบนซีน, โทลูอีน, ออโทไซลีน, พาราไซลีน และ เอทิลโทลูอีน ผลการวิจัยพบว่าการคงอยู่ของน้ำมันเบนซินบนผ้าทุกตัวอย่างหลังการสัมผัสน้ำมันเบนซินนานถึงระยะเวลา 6 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณน้ำมันเบนซินที่ตรวจพบในทุกตัวอย่างมีแนวโน้มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ผลจากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าวิธีการที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจหาน้ำมันเบนซินในสถานที่เกิดเหตุและเป็นประโยชน์ในกระบวนการสืบสวนสอบสวนได้อย่างมีศักยภาพ</p> 2025-05-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์