วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic <p>วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Journal of Criminology and Forensic Science) ดำเนินการตีพิมพ์บทความอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 </p> <p>เปิดรับผลงานวิชาการประเภทบทความ ทั้งบทความวิชาการ (Academic) และบทความวิจัย (Research) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม ผู้สนใจทั่วไป นักวิชาการ นักวิจัยอิสระ ตลอดจนครูอาจารย์ และนักศึกษาทุกระดับชั้น</p> <p>ขอบเขตเนื้อหามุ่งเน้นครอบคลุมทั้งอาชญาวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ และกระบวนการยุติธรรม ส่วนประเด็นน่าสนใจ อาทิ การสืบสวนสอบสวน การป้องกันปราบปราม การตรวจพิสูจน์หลักฐาน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นต้น</p> <p>มีวัตถุประสงค์เผยแพร่ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ของคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติซึ่งสามารถนำมาอ้างอิง ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม</p> th-TH <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น</p> [email protected] (Usanut Sangtongdee, Ph.D.) [email protected] (Wongyos Kerdsri, Ph.D.) Mon, 12 Feb 2024 21:19:15 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ: การทบทวนเชิงสหวิทยาการเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง รูปแบบ และกลยุทธ์ในการป้องกัน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264166 <p>บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุในมุมมองของสหวิทยาการ ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญแต่ไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจัง โดยในบทความนี้เป็นการทบทวนรูปแบบของการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ โดยเน้นไปที่ความรุนแรงทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านการเงิน ตลอดจนมีการอธิบายปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการกระทำความความรุนแรงดังกล่าวข้างต้น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับความสัมพันธ์ และระดับสังคม นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงผลกระทบของการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ได้แก่ ผลกระทบทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม บทความนี้ได้นำเสนอกลยุทธ์การป้องกันต่าง ๆ รวมถึงความคิดริเริ่มด้านการศึกษา กลไกการสนับสนุนทางสังคม และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่ว ยิ่งไปกว่านั้น บทความนี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษาวิจัย การตระหนักรู้ และกลยุทธ์การแทรกแซงเพื่อจัดการกับการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุมีความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น</p> ไวพจน์ กุลาชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264166 Wed, 31 Jan 2024 00:00:00 +0700 การระบุตัวตนของศพผู้เสียชีวิตด้วยภาพถ่ายลักษณะสัณฐานวิทยาบนใบหน้า: กรณีศึกษาเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางกลางทะเลอ่าวไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/266753 <p>เหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปางกลางทะเลอ่าวไทยในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อธันวาคม 2565 ส่งผลให้ทหารเรือและเจ้าหน้าที่ร่วมเดินทางที่ออกจากฐานทัพเรือสัตหีบเสียชีวิตและสูญหาย การตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ผู้เสียชีวิตดำเนินการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ จัดทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล รวมถึงช่างภาพการแพทย์เป็นส่วนหนึ่งของชุดปฏิบัติการ การภาพถ่ายการปฏิบัติการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ถูกนำมาใช้ในการระบุตัวตน ทางนิติวิทยาศาสตร์จากศพผู้เสียชีวิต โดยสามารถระบุชื่อได้ทั้งหมด 24 ราย คงเหลือผู้ที่ยังสูญหาย 5 ราย การถ่ายภาพร่างผู้เสียชีวิตตามแนวทางการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลอาศัยรายละเอียดสัณฐานวิทยาบนใบหน้า ที่แสดงภาพหน้าตรง ภาพใบหน้าด้านข้าง แสดงลักษณะของใบหู ภาพถ่ายครึ่งตัว เต็มตัวทั้งสองด้าน ด้านหลัง ของศพรวมถึง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บาดแผล เอกลักษณ์บุคคล ในช่องปาก ทันตกรรมพิเศษ ภาพวัสดุอุดฟัน การจัดฟัน ตำหนิรูปพรรณภายนอก รอยสัก รอยแผลเป็น ไฝ ปาน ร่องรอยความพิการ เสื้อผ้าที่เป็นเครื่องแบบเฉพาะโดยมีชื่อติดอยู่ สิ่งของเครื่องประดับ เอกสารที่ติดมากับศพ เป็นส่วนสำคัญในการช่วยระบุตัวตนจากศพผู้เสียชีวิต ร่างผู้เสียชีวิตได้รับการระบุตัวตน และส่งกลับคืนสู่ครอบครัว ผลการศึกษาพบว่า การยืนยันตัวบุคคลร่วมกับกับญาติหรือคนรู้จักของผู้เสียชีวิต ร่วมกับเอกสารทางราชการ ที่มีรูปถ่ายและข้อมูลของผู้เสียชีวิตระบุไว้เป็นที่เรียบร้อย ร่วมกับการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การตรวจลายพิมพ์นิ้วมือ การตรวจทางทันตกรรม และการตรวจสารพันธุกรรม ส่งผลให้การระบุยืนยันอัตลักษณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ</p> รัฐการ ปานมารศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/266753 Wed, 31 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการส่งมอบวัตถุพยานโดยการวิเคราะห์ข้อกำหนดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/261967 <p>งานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาปัญหาในการทำงานของพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน และเจ้าหน้าที่ตำรวจธุรการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการส่งมอบวัตถุพยาน จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้ให้เห็นถึงความซ้ำซ้อนในการออกเอกสารบันทึกข้อความ ทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ และยังส่งผลให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระบวนการส่งมอบวัตถุพยานไม่เป็นไปตามหลักความต่อเนื่องในการครอบครองพยานหลักฐานเท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการส่งมอบวัตถุพยานเพื่อแก้ไขปัญหาในการออกเอกสารซ้ำซ้อน โดยแอปพลิเคชันสามารถออกเอกสารบันทึกข้อความจากการบันทึกข้อมูลลงในแอปพลิเคชันเพียงหนึ่งครั้ง ทั้งนี้แอปพลิเคชันมีคุณสมบัติแสดงข้อมูลความต่อเนื่องในการครอบครองวัตถุพยานแต่ละชิ้น โดยแสดงข้อมูลสถานะและรายชื่อผู้ครอบครองพยานหลักฐาน ผลลัพท์ที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยให้ความเห็นว่าแอปพลิเคชันทำงานได้เสถียร เป็นไปตามกระบวนการ และมีความครบถ้วนสมบูรณ์ดี สามารถออกเอกสารบันทึกข้อความได้ และมีข้อมูลลำดับการครอบครองวัตถุพยาน ทั้งนี้แอปพลิเคชันสามารถนำไปพัฒนาร่วมกับระบบงานอื่นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป</p> ขวัญดาว หิรัญ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/261967 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษารูเหงื่อบริเวณฝ่ามือระหว่างบุคคลต่างสัญชาติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/262913 <p>งานวิจัยนี้ทำการศึกษารูเหงื่อบริเวณฝ่ามือในอาสาสมัครเพศหญิงที่มีสัญชาติไทย สัญชาติเมียนมา และสัญชาติกัมพูชา โดยเลือกอาสาสมัครที่มีอายุตั้งแต่ 20 – 60 ปี จำนวน 75 คน ซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ คือ ศึกษาจำนวนของรูเหงื่อ ประเภทของรูเหงื่อ และขนาดของรูเหงื่อ การศึกษารูเหงื่อใช้กล้องถ่ายภาพวัตถุพยาน DCS4 ที่ระดับโฟกัสที่ 0.314 และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของรูเหงื่อระหว่างสัญชาติโดยใช้สถิติ ANOVA โดยพบว่าในพื้นที่ศึกษาขนาด 5x5 มิลลิเมตร จำนวนรูเหงื่อเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดยพบว่าสัญชาติกัมพูชามีรูเหงื่อเฉลี่ยมากที่สุด (131±1.96) รองลงมาคือสัญชาติเมียนมา (111±0.98) และสัญชาติไทยพบจำนวนรูเหงื่อเฉลี่ยน้อยที่สุด (94±1.4) การศึกษาประเภทของรูเหงื่อพบว่าทั้ง 3 สัญชาติ มีรูเหงื่อแบบเปิดแตกต่างกันแต่มีจำนวนเฉลี่ยของรูเหงื่อแบบปิดไม่แตกต่างกัน และสำหรับการศึกษาขนาดของรูเหงื่อ จำนวนเฉลี่ยของรูเหงื่อขนาดเล็กพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสัญชาติไทยและสัญชาติเมียนมา สัญชาติไทยและสัญชาติกัมพูชา แต่สำหรับสัญชาติเมียนมาและสัญชาติกัมพูชารูเหงื่อขนาดเล็กมีจำนวนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และทั้ง 3 สัญชาติมีจำนวนเฉลี่ยของรูเหงื่อขนาดกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่รูเหงื่อขนาดใหญ่ระหว่างสัญชาติไทยและสัญชาติเมียนมา สัญชาติเมียนมาและสัญชาติกัมพูชามีจำนวนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างกันระหว่างสัญชาติไทยและสัญชาติกัมพูชา ความแตกต่างของรูเหงื่อในระหว่างสัญชาติเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งในอนาคตอาจนำไปสู่การจำแนกสัญชาติได้</p> รุ่งรัตน์ อุราเพ็ญ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/262913 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการสืบสวนคดีฉ้อโกงออนไลน์: กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264122 <p>คดีฉ้อโกงออนไลน์ของตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งจำนวนคดีฉ้อโกงออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นไม่สอดคล้องกับจำนวนคดีฉ้อโกงออนไลน์ที่ดำเนินคดีเรียบร้อยแล้ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาแนวทางขั้นตอนการดำเนินการสืบสวนคดีฉ้อโกงออนไลน์ในเขตรับผิดชอบของตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่น รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการสืบสวน เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินคดีฉ้อโกงออนไลน์ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และศึกษาวิเคราะห์จากสำเนาสำนวนคดีของสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น จำนวน 10 คดี โดยผลการวิจัยที่สำคัญประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สืบสวนมีแนวทางในการดำเนินการสืบสวนคดีฉ้อโกงออนไลน์คล้ายกันกับคดีอาญาอื่นๆ แต่ในขั้นตอนการสืบสวนหาข้อมูลผู้กระทำผิด เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจโดยตรงในการสืบค้นข้อมูล จำเป็นต้องมีการประสานงานจากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก ทำให้เกิดความล่าช้า และเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการดำเนินคดีที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ควรมีหน่วยงานเฉพาะที่สามารถประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรภายนอกได้โดยตรง จะทำให้การสืบสวนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่เป็นประจำ</p> นัททานน นำประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264122 Wed, 31 Jan 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการเข้าถึงพยานหลักฐานทางดิจิทัลสำหรับเจ้าหน้าที่สืบสวนเชิงคดี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264123 <p>บทความนี้ศึกษาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงพยานหลักฐานทางดิจิทัลและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย (1) ความหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (2) การเข้าถึงข้อมูลหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) หลักการให้ความยินยอมตามกฎหมาย ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลหลักฐานทางดิจิทัลสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทางนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีปัจจัยและข้อจำกัดทางกฎหมายหลายด้าน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันในปัญหาและอุปสรรค<br />ของการเข้าถึงพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการนำมาแก้ไขปรับปรุง<br />ข้อกฎหมายในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ <br />ผู้ให้ข้อมูลหลักได้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด คือ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ<br />การบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย จำนวน 3 หน่วยงาน หน่วยงานละ 4 ราย ได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิศษ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบังคับการปราบปรามการ<br />กระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ที่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์การทำงานในด้านพิสูจน์หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต่ำกว่า 3 - 5 ปี โดยส่วนใหญ่<br />ให้ความสำคัญกับปัญหาทางด้านข้อกฎหมาย เทคโนโลยี งบประมาณและบุคลากร ทั้งนี้ยังมีข้อเสนอแนะในการปรับแก้ข้อกฎหมาย จัดสรรงบประมาณ จัดการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ</p> จิระพัชร์ ทวงศ์เฉลียว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264123 Sat, 20 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากฎหมายและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดซ้ำ ของเด็กและเยาวชนในคดียาเสพติด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264419 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขต่อการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดียาเสพติดภายหลังการปล่อยตัว 2) เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างภาครัฐและเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวน 31 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 18 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างภาครัฐและเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดียาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ยังคงมีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับ 1) การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดยังไม่ครอบคลุมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 2) ความรับผิดชอบของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองในกรณีเด็กและเยาวชนกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด 3) การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางกฎหมายระหว่างภาครัฐและเอกชน จากประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้ 1) มาตรา 5 เพิ่มจำนวนคณะกรรมการการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเพิ่มเติมให้เป็น 26 หน่วยงาน 2) เพิ่มบทกำหนดโทษในประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 164/1 กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องรับผิดหากปล่อยปละละเลยให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติด และให้ผู้ปกครองต้องโทษจำคุกและปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ 3) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างภาครัฐและเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 26 หน่วยงาน บันทึกข้อตกลงมีเนื้อหาเพื่อร่วมกันดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือให้ครบวงจร ทั้งการบำบัดรักษา การป้องกัน งบประมาณ การพัฒนาอาชีพ การจ้างงาน การศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาจิตใจ</p> วาชิณี ยศปัญญา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/264419 Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพการบังคับใช้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ในชั้นสอบสวน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/265660 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ในชั้นการสอบสวน ศึกษาแนวทางการเพิ่มความผิดในคดีอาญาในกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในระดับการสอบสวน และเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ในชั้นการสอบสวน ผลการวิจัย พบว่าสามารถนําองค์ความรู้ไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2562 ในชั้นการสอบสวนได้ดังนี้ คือ กำหนดนโยบายให้สถานีตำรวจแต่ละแห่งดำเนินการไกล่เกลี่ย โดยต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัด กำหนดเป็นตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์ของตำรวจจัดทำแนวทางทีละขั้นตอน ตั้งคณะทำงานถาวรของสถานีตำรวจที่ทำหน้าที่เฉพาะ มีห้องไกล่เกลี่ยรับหมายเลขคดีไกล่เกลี่ยโดยเฉพาะ ทำให้กระบวนการไกล่เกลี่ยสั้นลง มอบหมายให้พนักงานสอบสวนเฉพาะกิจดำเนินการไกล่เกลี่ย จัดผู้ไกล่เกลี่ยที่สถานีตำรวจต่าง ๆ แต่งตั้งผู้นําชุมชนหรือบุคคลที่น่านับถือในสังคมเป็นผู้ไกล่เกลี่ย การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ข้าราชการตำรวจ 3 ระดับ คือ ระดับผู้บริหาร ระดับผู้บังคับบัญชา พนักงานสอบสวน มีระบบการไกล่เกลี่ยออนไลน์ เพิ่มงบประมาณ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชนทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและขั้นตอนในการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย จูงใจให้พนักงานสอบสวนใช้กฎหมายนี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีความรู้ใหม่ในการกำหนดนโยบายจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาททางอาญาและทางแพ่ง ณ สถานีตำรวจภูธร โดยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การจัดตั้งสถานีตำรวจนําร่อง 18 แห่ง ในกองบัญชาการตำรวจนครบาล และเลือก 2 สถานีนําร่อง (บก. 1-9) สำหรับแต่ละสถานี ระยะที่ 2 จัดตั้งสถานีตำรวจนําร่อง 78 แห่ง ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 1-9 โดยเลือกสถานีตำรวจนําร่อง 1 สถานีต่อจังหวัด (กำหนดสถานีตำรวจในเมืองต่าง ๆ) ระยะที่ 3 การจัดตั้งสถานีตำรวจทั่วประเทศ ขณะนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้ง 3 ระยะเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566</p> ทัดดาว โฉมลักษณ์, อาภรณ์ ลิมะวิรัชพงษ์, ฤทธิชัย ช่างคำ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/265660 Wed, 10 Jan 2024 00:00:00 +0700 การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการนำนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการสืบสวนสอบสวนและป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/265827 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานด้านการนำนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการสืบสวนสอบสวนและป้องกันการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยแห่งความสำเร็จ และเพื่อถอดบทเรียนกรณีตัวอย่างในการดำเนินงานดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยประเมินผลและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานดังกล่าวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ได้แก่ 1) ปัญหาด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการ 2) ปัญหาด้านความเข้าใจ 3) ปัญหาด้านมุมมองหรือทัศนคติ 4) ปัญหาด้านบุคลากร 5) ปัญหาด้านขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน และ 6) ปัญหาด้านงบประมาณ ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) การจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) 2) การฝึกอบรม 3) การกำหนดนโยบายของผู้บริหาร 4) ความน่าเชื่อถือและความแม่นยำของข้อมูลที่เป็นพื้นฐาน และ 5) การประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่การนำความรู้นิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ สำหรับผลการถอดบทเรียนกรณีตัวอย่างพบว่า การนำเทคนิคการตรวจสารเสพติดในเส้นผมส่งผลให้สถิติจำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษลดลงอย่างต่อเนื่องในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงยุติธรรม จึงควรกำหนดนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการนำนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการสืบสวนสอบสวนและป้องกันการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งกำหนดเป็นข้อกฎหมายหรือข้อบังคับสำหรับใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการนำนวัตกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป</p> ศลิษา พรหมมะกฤต, ชัชนันท์ ลีระเติมพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/265827 Sat, 20 Jan 2024 00:00:00 +0700 การจัดการความรู้สำหรับการพัฒนาเครือข่ายเยาวชนเพื่อป้องกัน การกระทำความผิดและตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมด้วยกระบวนการสื่อสังคมออนไลน์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/267622 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้ในการนำไปพัฒนาเครือข่ายเยาวชน กลุ่มเป้าหมายอยู่ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7 ได้แก่ ตำรวจมวลชนสัมพันธ์ เยาวชน บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมผสานด้วยการวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการตอบแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเยาวชนที่ดี ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นรับสมัครและคัดเลือกแกนนำเครือข่าย 3) ขั้นฝึกอบรม และ 4) ขั้นขยายเครือข่ายและสร้างความยั่งยืน การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกับบุคลากรหลากหลายหน่วยงานที่ดูแลเยาวชน อาทิ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูฝ่ายกิจกรรมนักเรียน รวมถึงตัวแทนเยาวชนที่เป็นแกนนำเครือข่ายได้ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมที่ให้สมาชิกมีส่วนร่วมผ่านสื่อสังคมออนไลน์มุ่งเน้นไปที่การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยอาชญากรรม ภายหลังการถ่ายทอดความรู้ผ่านคู่มือและการระดมความคิดเห็น พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีระดับความรู้ความเข้าใจในภาพรวมเป็นอย่างดี และมีความเข้าใจการในการร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเครือข่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้สมาชิกเครือข่ายยังสามารถสร้าง และใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ ยิ่งไปกว่านั้นสมาชิกเครือข่ายยังมีความปรารถนาที่จะต่อยอดผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมในเครือข่ายด้วยการประชาสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน และในพื้นที่ของตนเพื่อสร้างความต่อเนื่องอีกด้วย</p> วิชิต อาษากิจ, นิตินัย เทพเทียน, อัศว์ณุต แสงทองดี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/267622 Mon, 12 Feb 2024 00:00:00 +0700