การคาดคะเนส่วนสูงจากความยาวของนิ้วกลางในประชากรไทย

Main Article Content

สุจารี บูรณาภา
ธิติ มหาเจริญ
ปริญญา สีลานันท์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนสูงกับความยาวของนิ้วกลาง และสร้างสมการถดถอยใช้ในการคาดคะเนส่วนสูงจากความยาวของนิ้วกลางในประชากรไทย โดยการวัดส่วนสูงและความยาวของนิ้วกลางจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายร้อยตำรวจ ที่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี จำนวน 200 คน เป็นเพศชาย 100 คน และเพศหญิง 100 คน


      ผลการวิจัยพบว่า  ความยาวของนิ้วกลางทั้งสองข้างมีความสัมพันธ์กับส่วนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับเพศชาย เพศหญิง และกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเพศ และสามารถนำมาสร้างสมการถดถอยคาดคะเนส่วนสูงได้ ผลการศึกษาพบว่า ความยาวนิ้วกลางข้างขวาและข้างซ้ายของเพศชาย ทำนายส่วนสูงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสามารถทำนายได้ร้อยละ 27.1 และ 30.5 ตามลำดับ ความยาวนิ้วกลางข้างขวาและข้างซ้ายของเพศหญิงทำนายส่วนสูงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสามารถทำนายได้ร้อยละ 16.0 และ 14.2 ตามลำดับ สำหรับความยาวนิ้วกลางข้างขวาและข้างซ้ายของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเพศ ทำนายส่วนสูงได้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสามารถทำนายได้ร้อยละ 37.0 และ 40.3 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญา สุขศิริ. (2562). วัยรุ่นวัยใส. เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2562. เข้าถึงได้จาก http://www.korat7. go.th/web/images/stories/01-KORAT7/1.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติ อินทรานนท์. (2553). การยศาสตร์ (Ergonomics). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. นนทบุรี: เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นัทธมน ภู่รีพัฒน์พงศ์ และคณะ. (2557). การประเมินส่วนสูงคนไทยในปัจจุบัน จากความยาวของกระดูกยาว. เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org /index.php/damrong/article/view/20720/17995

พรทิพย์ โรจน์สุนันท์. (2544). นิติเวชศาสตร์ การชันสูตรพลิกศพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ศิริลักษณ์ หน่อคำ. (2554). การประมาณความสูงจากการวัดศีรษะและใบหน้าใน ประชากรไทย.เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2562. เข้าถึงได้จาก http://library.cmu.ac.th/digital_collection /etheses/index.php

สำนักงานบริหารการสาธารณสุข. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานนิติเวช (สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. (2549). คู่มือการชันสูตรพลิกศพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุทิศ ศรีวิชัย. (2553). การคาดคะเนส่วนสูงจากความยาวกระดูกหน้าแข้งและกระดูกปลายแขนด้านในของประชากรไทย. เข้าถึงเมื่อ 6 ธันวาคม 2562. เข้าถึงได้จากhttp://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Utit_Sreewichai/ fulltext.pdf

Manoj Balachandran, Vina Ravi Vaswani. (2017). Estimation of Stature from the Length of the Right Index Finger in a Population in an Area in Dakshina Kannada and Sexual Dimorphism Exhibited. Accessed November 2, 2019. Available from https://juniperpublishers.com/jfs ci/pdf/JFSCI.MS.ID.555659.pdf

Pramod Kumar GN, Roopa AN Urs. (2017). Study of Correlation of Index Finger Lengths and Stature. Accessed November 5, 2019. Available from https://www.researchgate.net/publication/313447191

Shahina, Vijayakumar BJ., and others. (n.d.). (2014). Estimation of Stature from Index Fingers Length in Davangere District. Accessed August 25, 2019. Available from https://www.researchgate.net/publication/280921563