ทุนทางสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอำนวยความยุติธรรมให้กับชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทบาท หน้าที่ และการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการอำนวยความยุติธรรมให้กับชุมชน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมกับการอำนวยความยุติธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในลักษณะของการศึกษาเฉพาะกรณี (case study) ซึ่งมีหน่วยที่ทำการศึกษาคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองไร่ขิง องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา และองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมใหญ่ ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการร่วมสนทนากลุ่ม (focus group) กับผู้ทรงคุณวุฒิในสำนักงานยุติธรรมจังหวัด จากนั้นได้เลือกใช้การวิจัยภาคสนาม (field research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (focus group) ผู้เชี่ยวชาญเป็นครั้งที่ 2 ผลการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 3 แห่งมีบทบาทที่เข้มแข็งอย่างมากในการอำนวยความยุติธรรมให้กับชุมชนโดยได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคม การจัดระเบียบชุมชนสังคม และประชาชนต้องเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่ายเพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ผ่านภารกิจประจำของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบล ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมให้การดำเนินการอำนวยความยุติธรรมจนประสบความสำเร็จถือเป็นทุนทางสังคม แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ ทุนทางสังคมที่เกิดจากปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ ผู้นำองค์กร สมรรถนะและความสามารถของข้าราชการ ศักยภาพขององค์กร และทุนทางสังคมที่เกิดจากปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภายนอก ความเข้มแข็งของภาคประชาชนและการมีส่วนร่วม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Boonchuay, S. (2018). The Development of Innovative models of Local Administrative Organization in Crime Prevention in The Central Region. Doctor of Philosophy Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).
Khongsong, S. (2019). Community Empowerment Of Taling Chan Floating Market Community, Bangkok Metropolitan Based On Social. Doctor of Philosophy Thesis, Burapha University, Chonburi. (In Thai).
Kokpol, O. (2017). Expanding the Role and Mission of Judicial Affairs to Local Administrative
Organizations: Proposals, Guidelines, and Scopes of Mission. King Prajadhipok's Institute Journal, 15 (2), 24 – 48. (In Thai).
Kongyuen, S. et al., (2019). Capacity and Preparedness of Local Administrative Organization To Promote Community Justice Center. The full paper research,
The National Research Council of Thailand. (In Thai).
Krueathep, W. (2007). Network: Innovative work of local government organizations. Bangkok: The Thailand Research Fund. (In Thai).
Kurki, L. (2000). Restorative and Community Justice in the United States. Crime and
Justice, 27 (2), 235 - 303.
Lanni, A. (2005). The Future of Community Justice. Harvard Civil Rights – Civil Liberties
Law Review, 40 (1). 359 – 405.
Ngernklay, P. et al. (2019). Guideline on Reduction of Number of Legal cases to Court: Comparative Case studies on the Measure of Dispute Resolution of Community Justice and the Measure of Suspension of Prosecution. Journal of Thai Justice System, 12(1), 41 – 62. (In Thai).
Pokapalakorn, T. (2006). Social Capital and Financial Administration of Local Government Organization: Cases study of Huay – Ka – Pi Sub District Administration Organization, Muang District, Chonburi Province, and Kao - Sam – Yod Sub District Administration Organization, Muang District, Lopburi Province. Doctor of Philosophy Thesis, Thammasat University, Bangkok. (In
Thai).
Seramethakul, M. et al. (2022). Project to study guidelines for reducing the number of criminal cases in the justice system: The role of community justice. The full paper research. Ministry of Justice. (In Thai).
Ua-amnuay, J. et al. (2010). Developing a research framework for alternative justice projects in Thai society. The full paper research. Chulalongkorn University. (In Thai).
Ua-amnuay, J. (2013). Justice System and alternative Justice: On Sociological perspectives. Bangkok: Chulalongkorn Press. (In Thai).
World Bank. (1999). Social Capital: A Multifaceted Perspective. Washington, D.C.: The
International Bank for Reconstruction and Development.
Woranam, J. (2019). Exploring Conditions Conducive to Successful Operation of
Community Justice Centers in Khon Kean Province. Journal of Social Work, 27 (2), 163 – 193. (In Thai).