การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานสอบสวนของสถานีตำรวจ ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ชยุต มารยาทตร์

บทคัดย่อ

พนักงานสอบสวน เป็นหัวใจสำคัญและเป็นต้นธารของกระบวนการยุติธรรมที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะสร้างเสริมความถูกต้อง ชอบธรรมให้กับสังคมอีกทั้งงานด้านสอบสวนของสถานีตำรวจเป็นขั้นแรกกระบวนการยุติธรรมอันสำคัญยิ่งต่อประชาชน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการและศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพงานสอบสวนของสถานีตำรวจ ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 39 คน แบ่งเป็น ข้าราชการตำรวจและอดีตข้าราชการตำรวจ จำนวน 29 คน และภาคประชาชน จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปัจจัยด้านการบริหารงานบุคคล (Staffing) เป็นปัจจัยการบริหารที่มีความสำคัญที่สุดต่อการบริหารงานสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาเป็นปัจจัยด้านการจัดการงบประมาณ (Budgeting) และปัจจัยด้านการอำนวยการ (Directing) ตามลำดับ โดยมี ปัจจัยการบริหารด้านการรายงานผลการปฏิบัติ (Reporting) เพียงด้านเดียวที่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันน้อยที่สุด ในส่วนของปัจจัยประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานสอบสวน พบว่า ด้านความรวดเร็วของกระบวนการสอบสวนยังไม่มีความรวดเร็วเท่าที่ควร ด้านความเป็นธรรมของกระบวนการสอบสวน พบว่า ระยะเวลาการดำเนินคดีมีอยู่อย่างตามกฎหมายมีอยู่จำกัดอาจจะทำให้สำนวนคดีอาญาไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ส่งผลต่อความเป็นธรรมได้ ด้านความโปร่งใสของกระบวนการสอบสวน พบว่า เนื่องจากการสืบสวนสอบสวนเป็นกระบวนการลับไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนได้ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาจจะเกิดความไม่ไว้ใจในการดำเนินการสอบสวนได้ ด้านความเพียงพอของการให้บริการในงานสอบสวน พบว่า สถานีตำรวจขนาดใหญ่และขนาดกลางไม่เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน อีกทั้งปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานสอบสวน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์/เทคโนโลยีและสารสนเทศ และด้านการบริหารจัดการ และงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้นำเสนอแนะแนวทางเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานสอบสวนของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Gabbuasri, T. (2019). Process and Technique of POSDCoRB. Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand (JAPDEAT), 1(3). (In Thai).

Hanthongchai, P. (2021). Unity of Criminal Inquiry. Graduate Law Journal, 14(3). (In Thai).

Khamkhao, M., & Boonsanong V. (2020). The Operational Efficiency of the Investigative Officers, Bangkok Metropolitan Command Police Headquarter, Office of Royal National Police. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University, 6(2). (In Thai).

Naowakittinart, A. (2021). The Problem and Obstacles in the Competency Development of Investigative Officers Royal Thai Police. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 7(1). (In Thai).

Rujiravinitchai, K. (2015). Development Effective Management of Investigation, Metropolitan Police Bueau, The Royal Thai Police. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 5(2). (In Thai).

Schermerhorn, J. R. (1999). Management. 5th Edition. USA: John Wiley and Sons.

Teerakulvanit, V. (2014). Problems and obstacles of investigator's working in Metropolitan Police Bureau. Retrieved from https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/ frontend/Info/item/dc:138397. (In Thai).

Thai Government Gazette. (1934). The Criminal Procedure code. Book 52. (In Thai).

Wattana, D. (2002). Organizational Theory. Bangkok: Burapha University. (In Thai).

Wongnoon, C. (2016). Factors Affecting Effectiveness of Investigation of Consumer Protection Police Division. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences), 11(1). (In Thai).