การใช้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จากคำพิพากษาฎีกาในการพิจารณาความผิด เกี่ยวกับการปลอมและการแปลง : ความผิดเกี่ยวกับเงินตราและเอกสาร

Main Article Content

สรัญญา อัทธยานุพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมคดีอาญาในหมวดความผิดที่เกี่ยวกับเงินตราและเอกสารที่ได้นําหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิพากษา เพื่อวิเคราะห์กรณีคดีที่ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาถึงที่สุดแล้วและเป็นคดีที่ประสบความสําเร็จในการนําความรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์ มาใช้ในการพิจารณาพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคดี และสามารถนําผู้กระทําผิดมาลงโทษได้ตามกฎหมาย และเพื่อศึกษาแนวทางของศาลฎีกาในการวิเคราะห์และชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในแต่ละคดีของความผิดที่เกี่ยวข้องกับเงินตราและเอกสาร ผลจากการวิจัยพบว่าสามารถแบ่งแนวทางการพิจารณาพิพากษาโดยศาลออกเป็นสองกรณี ได้แก่ กรณีที่หนึ่งศาลฎีกาไม่ได้ระบุรายละเอียดของผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ในคำพิพากษาเหล่านั้น เนื่องจากศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาตามผลการตรวจพิสูจน์แต่เดิมที่ฝ่ายโจทก์นำเข้าสู่การพิจารณาให้ชัดเจน แล้วลงความเห็นว่าเงินตราในข้อพิพาทนั้นมีจุดสังเกตที่ทำให้รู้ว่าแตกต่างจากเงินตราที่เป็นของจริง หรือเอกสารที่พิพาทนั้นปรากฏร่องรอยของการแก้ไขรายละเอียดชัดเจน ใช้วิธีพิจารณาพยานหลักฐานด้วยตาเปล่าก็สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ และกรณีที่สองศาลฎีกาอธิบายรายละเอียดผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ใน คำพิพากษาเหล่านั้นโดยชัดเจน เนื่องจากคู่ความใช้วิธีการทางนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการพิสูจน์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในคดีจนปราศจากข้อสงสัยและสามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้อย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย