การเพิ่มคุณค่าของผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษภายใต้โครงการแบรนด์ผลิตผลคนดี

Main Article Content

พงษ์อภินันทน์ จันกลิ่น
เสาวคนธ์ เจษฎารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขในการเพิ่มคุณค่าผู้ต้องขังและ ผู้พ้นโทษภายใต้โครงการแบรนด์ผลิตผลคนดี และศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการสร้างการยอมรับ ผู้พ้นโทษ โดยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ต้องขังที่ได้รับแบรนด์ผลิตผลคนดี ญาติ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่เรือนจำ หน่วยงานภาคสังคมและประชาชน ระยะที่ 2 นำผลการศึกษาที่ได้จากระยะที่ 1 มาจัดทำข้อเสนอแนวทางการเพิ่มคุณค่าผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษก่อนนำไปทดลองปฏิบัติจริง ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า แบรนด์ผลิตผลคนดีที่กรมราชทัณฑ์จดทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และ มอบให้กับผู้ต้องขังที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 728 คน เพื่อเป็นเครื่องหมายรับรอง มีผลต่อผลิตผลคนดี ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า แม้เคยผิดพลาดแต่ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนเองจนได้เป็นผลิตผลคนดี เป็นเครื่องหมายเตือนใจไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ กล้าที่ติดตราแบรนด์ รวมทั้งญาติ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่เรือนจำ หน่วยงานภาคสังคมและประชาชน ส่วนใหญ่เห็นว่า แบรนด์ผลิตผลคนดีเป็นเครื่องหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคม ซึ่งควรมอบเพิ่มและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง การศึกษาระยะที่ 2 พบว่า แนวทางการเพิ่มคุณค่าผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ คือ การยกระดับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตั้งแต่เข้าเรือนจำ ได้แก่ การจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเพื่อกำหนดแผนปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคลอย่างเหมาะสม การใช้แบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำกับผู้ต้องขังที่เป็นผลิตผลคนดี การส่งเสริมให้ผลิตผลคนดีมีงานทำ โดยยึดผลิตผลคนดีเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า เมื่อนำรูปแบบดังกล่าวไปทดลองใช้ในเรือนจำ พบว่า การอบรมให้ความรู้และคำแนะนำการประกอบอาชีพแก่ผลิตผลคนดีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น และภาคสังคม ควรเปิดพื้นที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพเพื่อสร้างโอกาสให้ผู้พ้นโทษกลุ่มผลิตผลคนดีได้กลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Corrections. (2015). Accumulated statistics, The number of the prisoners and ex-convicts under the Quality People project which received a certificate from Department of Corrections. https://www.correct.go.th.

Department of Corrections. (2016). Annual report Department of Correction. Chulalongkorn University Press.

Jetsadarak, S., Suwannahong, R., Yantana, N., Roamjit, M., Sakaranggoon P., Boonma, V. (2009). Ex–Prisoners Self-Adjustment [Research Project]. Department of Corrections.

Kantee, P., Peetaneelabut, C., & Wattanaviboon, A. (2000). Criminology Theory and Research. Booknet.

Ongard, K., & Sukoom, C. (n.d.). The participation of the Community Justice Center in creating opportunities for the rehabilitation of prisoners to society. http://www2.huso.tsu.ac.th/NCOM/CSD/CSDFUL_WORD/F275.pdf

Sereerat, S., Rimthai, S., Sereerat, S., Patawanit, O., Raksitanont, P. (2000). Principle of Marketing. Theerafilm & Sytex Printing.

Silapawattanaporn, P., Wasannatasiri, W., Chaijinda, S., Kaewseenown, S., Boonngam, K., Insee, Yong., Rearnroung, S. (2012) Attitudes towards illegal attitude towards lifestyle use of self-defense mechanisms and self-esteem of Thai prisoners. https://www.correct.go.th./research/letter/filepdf/1610678071.pdf

Taekasem, P., Sirisuthidecha W., Aroonkong R. (2010). Prisoners Dealing with Family broken after their incarceration. [Research Project]. Department of Corrections.

Yakadkhanong, S., Sukdawang, S., Jetsadarak, S. (2006). Lifestyle Patterns for Recidivism Offenders: a case study of burglars. [Research Project]. Department of Corrections.