ต้นแบบระบบการให้คำแนะนำและชี้แนะกระบวนการทางกฎหมายในการดำเนินคดีทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจที่ฝึกปฏิบัติงานสอบสวนโดยใช้แชตบอตของแอปพลิเคชันไลน์

Main Article Content

สุรชาญ ปานอ้น
อภิณัฐ ชมภูนุช
วงศ์ยศ เกิดศรี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ส่งผลให้อาชญากรรมมีการพัฒนาจากอาชญากรรมแบบดั้งเดิมเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เช่น การหลอกลวงผ่านโซเชียลมีเดีย การใช้อินเทอร์เน็ตในการกระทำความผิด และการหลอกลวงแบบพิศวาสอาชญากรรม เป็นต้น บ่อยครั้งที่นักเรียนนายร้อยตำรวจที่ฝึกปฏิบัติงานสอบสวนไม่ทราบถึงแนวทางในการดำเนินคดี และฐานความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ งานวิจัยเรื่องนี้จึงต้องการพัฒนาแชตบอตของแอปพลิเคชันไลน์สำหรับให้คำแนะนำและให้แนวทางในการดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมทั้งเพิ่มคลังความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ให้แก่นักเรียน นายร้อยตำรวจที่ได้ฝึกปฏิบัติในงานสอบสวน โดยงานวิจัยเรื่องนี้ได้แบ่งกระบวนการทำงานออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาเกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ 2) ขั้นตอนการพัฒนาแชตบอตสำหรับให้คำแนะนำและให้แนวทางในการดำเนินคดีตามกฎหมาย งานวิจัยเรื่องนี้มีประโยชน์สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจที่ได้ฝึกปฏิบัติในงานสอบสวน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานและสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้เสียหายในคดีทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cunha, I., Cavalcante, J., & Patel, A. (2017). A proposal for curriculum development of educating and training brazilian police officers in digital forensics investigation and cybercrime prosecution. International Journal of Electronic Security and Digital Forensics, 9(3), 209-238. doi:10.1504/IJESDF.2017.085195

Erendor, M. E., & Yildirim, M. (2022). Cybersecurity awareness in online education: A case study analysis. IEEE Access, 10, 52319-52335. doi:10.1109/ACCESS.2022.3171829

Government Gazette. (2017). Computer-Related Crime Act BE 2560. Government Gazette, 134 (10A), 24-34.

Keardsri, W. (2021). A Good Practice for Cybersecurity Teaching Curriculum: A Case Study of The Royal Police Cadet Academy. Journal of Criminology and Forensic Science, 7(2), 136–150. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/250248

LINE Developer. (2021). LINE Messaging API Overview. Retrieve December 23, 2021 from https://developers.line.biz/en/docs/messaging-api/overview/

Luh, R., Eresheim, S., Grosbacher, S., Petelin, T., Mayr, F., Tavolato, P., & Schrittwieser, S. (2022). PenQuest reloaded: A digital cyber defense game for technical education. IEEE Global Engineering Education Conference, EDUCON, 2022-March 906-914. doi:10.1109/EDUCON52537.2022.9766700

Morgan, J., Paiement, A., Seisenberger, M., Williams, J., & Wyner, A. (2018). A Chatbot Framework for the Children’s Legal Centre. The 31st international conference on Legal Knowledge and Information Systems (JURIX), Dec 2018, Groningen, Netherlands.

Roos, S., & Lochan, R. (2018). CHATBOTS IN EDUCATION: A passing trend or a valuable pedagogical tool?. Rearch Book of Department of Informatics and Media, Uppsala University. Retrieved from http://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:1223692/FULLTEXT01.pdf

Shohel, M. C. , Uddin, G., Parker-McLeod, J., & Silverstone, D. (2020). Police Education in the United Kingdom: Challenges and Future Directions. Intech Open. doi:10.5772/intechopen.92705