แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์: กรณีศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Main Article Content

วงศ์ยศ เกิดศรี

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงออกแบบ ทดลอง และพัฒนา แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรพิเศษเฉพาะทางสำหรับการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้นเป็นหลักสูตรทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์  ซึ่งยังคงมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นการศึกษาวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่ในคดีอาชญากรรมไซเบอร์เมื่อสำเร็จการศึกษา โครงสร้างของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การศึกษาความรู้พื้นฐานด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 2) การศึกษาความรู้หลักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งยังสามารถแบ่งออกเป็นความรู้หลักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เชิงรุกที่ประกอบไปด้วย การเขียนโปรแกรมสำหรับการแฮ็กอย่างมีจรรยาบรรณ การเข้าถึงทรัพยากรของเครือข่ายและเครื่อง การเข้าถึงทรัพยากรของเว็บ และการยึดครอง และ ความรู้หลักด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เชิงรับ ที่ประกอบไปด้วย การทำวิศวกรรมย้อนกลับ การตรวจพิสูจน์ทางดิจิทัล วิทยาการเข้ารหัสลับ และการประยุกต์ใช้เครื่องมือโอเอสไอเอ็นที การจัดกิจกรรมการเรียน  การสอนจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ผ่านเกมที่เรียกว่าซีทีเอฟหรือการยึดธง ผลการศึกษาพบว่านักเรียนนายร้อยตำรวจกลุ่มตัวอย่างมีทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หลังผ่านการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถสร้างผลงานและแสดงศักยภาพทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เป็นที่ประจักษ์ได้ ทั้งในระดับเหล่าทัพ ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ahmed, A., Lundqvist, K., Watterson, C., and Baghaei, N. (2020). Teaching cybersecurity for distance learners: A reflective study. In Proceedings of Frontiers in Education Conference, FIE, 2020-October.

Chulalongkorn University. (2018). Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering 2018 Revision, Academic Document of the Department of Computer Engineering, Faculty of Engineering, Retrieved from https://www.cp.eng.chula.ac.th/future/bachelor. (In Thai).

Crick, T., Davenport, J. H., Irons, A., and Prickett, T. (2019). A UK case study on cyber security education and accreditation. In Proceedings of Frontiers in Education Conference, FIE, 2019-October.

CTFd. (2021). Cybersecurity Training Platform with Capture The Flag. Retrieved May 29, 2021, from https://ctfd.io/.

Dai, J. (2019). Situation awareness-oriented cybersecurity education. In Proceedings of Frontiers in Education Conference, FIE, 2018-October.

Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. Cambridge, MA: Massachusetts Institute of Technology, Center for Advanced Engineering Study. p. 88.

King Mongkut's University of Technology Thonburi. (2017). Bachelor of Science Program in Applied Computer Science 2017 Revision, Academic Document of the Department of Mathematics, Faculty of Science, King Mongkut's University of Technology Thonburi, Retrieved from https://math.kmutt.ac.th/index.php/academic-admission/undergraduate/b-sc-applied-computer-science. (In Thai).

Mahidol University. (2018). Bachelor of Science in Information and Communication Technology (International Program) 2018 Revision, Academic Document of the Faculty of Information and Communication Technology, Mahidol University, Retrieved from https://www.ict.mahidol.ac.th/th/?page_id=679. (In Thai).

Omar, T., Venkatesan, S., and Amamra, A. (2018). Development of undergraduate interdisciplinary cybersecurity program: A literature survey. In Proceedings of ASEE Annual Conference and Exposition, Conference, 2018-June.

Peruma, A., Malachowsky, S. A., and Krutz, D. E. (2018). Providing an experiential cyber security learning experience through mobile security labs. In Proceedings of International Conference on Software Engineering, 51-54.

Royal Police Cadet Academy. (2018). Bachelor of Public Administration Program in Police Science 2018 Revision, Academic Book of Royal Police Cadet Academy. (In Thai).

Shewhart, W. A. (1986). Statistical method from the viewpoint of quality control. New York: Dover.

Stavrou, E., and Polycarpou, I. (2020). Cybersecurity-related curriculum for diverse postgraduate cohorts: A case study. In Proceedings of 14th International Multi-Conference on Society, Cybernetics and Informatics, 88-93.

Yuan, X., Zhang, T., Shama, A. A., Xu, J., Yang, L., Ellis, J., and Waters, C. (2019). Teaching cybersecurity using guided inquiry collaborative learning. In Proceedings of Frontiers in Education Conference, FIE, 2019-October.