แนวทางการพัฒนางานด้านนิติเวชศาสตร์ในโรงพยาบาล

Main Article Content

วิไลรัตน์ สุริยวงศ์
ณิช วงค์ส่องจ้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบมาตรฐานงานนิติเวชศาสตร์ในโรงพยาบาล รวมทั้งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนิติเวชศาสตร์ของโรงพยาบาล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์จากสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม ระดับผู้บริหาร ระดับปฏิบัติการหรือแพทย์เฉพาะทางของโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านนิติเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่าปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันมีไม่เพียงพอ ทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบันมีภาระงานที่รับผิดชอบจำนวนมากต่อเจ้าหน้าที่หนึ่งคน อีกทั้งเจ้าหน้าที่บางคนต้องออกปฏิบัติหน้าที่ ทำให้บุคลากรมีภาระงานที่สูงมาก รวมทั้งทางหน่วยงาน มีนโยบายในการลดข้าราชการมาจากข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดินทำให้มีบุคลากรที่ความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ การบริหารงานด้านนิติเวชศาสตร์จึงมีความจําเป็นต่อสถานพยาบาล และให้ความสำคัญกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพกลางในการตรวจทางนิติเวชและมีการถ่ายทอดเพื่อนำไปใช้ เพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพในทุกภูมิภาคและเพื่อรองรับต่องานที่เพิ่มให้ทั่วทุกภูมิภาคกลุ่มงานด้านนิติเวชศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถนำความรู้ความเข้าใจทางนิติเวชศาสตร์มาใช้ในการอำนวยความยุติธรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย 1) ควรมีการจัดอบรมความรู้ทางด้านนิติเวชเกี่ยวกับหลักการเก็บวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อสามารถนำความรู้ความเข้าใจทางนิติเวชศาสตร์มาใช้ในการอำนวยความยุติธรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 2) เนื่องจากหน่วยงานมีนโยบายในการลดข้าราชการ มาจากข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดินทำให้มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ จึงควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดภาระงานของบุคลากรเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamsuwannawong, A. (2001). Forensic science 3 for crime investigation. Part 2. Bangkok: Daoreuk Press. (In Thai).

Fongsiripaibul, V. (2015). Forensic Medicine Tasks Must Be Done Within The Framework of Law Detail From Relative is Not Reliable: A case report. Retrieved April 30, 2021. from http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=535. (In Thai).

Peonim, V. (2017). Scope of forensic work and services. Public Health Policy and Laws Journal, 3(2), 288-246. (In Thai).

Promwikorn, W. (2020). Standardizing Forensic Science System for Thailand Reform. Journal of Southern Technology, 13(1), 200-219. (In Thai).

Sithicharoon, W. (2011). The medicolegal workload of interns graduating from faculty of medicine, Srinakharinwirot University in the first year internship training program. Journal of Medicine and Health Sciences, 18(2), 68-77. (In Thai).

Suwanchasri, P. (2015). Understanding of Forensic and Medical Evidence by Professional Nurses in Emergency Department of Phramongkutklao Hospital. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Bangkok. (In Thai)

Thitachote, P. (n.d.). Introduction to Forensic Medicine. Retrieved May 15, 2020. from http://www.cifs.moj.go.th/main/index.php/th/2013-11-14-01-22-16?. (In Thai).

Ungpraphan, W. (1918). Manual of Autopsy. Bangkok: Pickanes Printing Center Co Ltd. (In Thai).

Ungpraphan, W. (2005). Forensic Medicine. 8 th Edition. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. (In Thai).

Vijitpongjinda, S., Wattanapisit, A., Saengow, U., and Sukhang, U. (2020). Attitudes and levels of confidence to practice forensic medicine among general physicians in Upper-Southern Thailand. Retrived September 8, 2022. from https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5165/hs2535.pdf?sequence=3&isAllowed=y. (In Thai).

Yosprasit, T., and Wichuwanit, W. (2019). Knowledge and Opinions towards the Collection of Forensic Evidenceof the Investigators (Inquiry Officials) of Metropolitan Police Division 8. Suan Dusit Graduate School Academic Journal, 16(2), 79-99.