ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเก็บกู้วัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิดสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิภาพการเก็บกู้วัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิด เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานการเก็บกู้วัตถุระเบิด ของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิด สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการเก็บกู้วัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิด สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการตำรวจชุดปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิด สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนตัวด้วยสถิติ t-test f-test ANOVA วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Least Square Difference (LSD) และการทดสอบถดถอยพหุคูณ Multiple linear Regression ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย และส่วนใหญ่อายุ 41-50 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับชั้นยศ คือ ดาบตำรวจ ตำแหน่ง ผู้บังคับหมู่ เงินเดือนและเงินเพิ่มพิเศษ 31,001-39,000 บาท และมีระยะเวลาปฏิบัติงาน 21 ปี ขึ้นไป ประสิทธิภาพการปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิด ด้านการบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุ ด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และด้านการทำให้สถานที่เกิดเหตุปลอดภัย อยู่ระดับมาก และไม่สามารถทำการวิเคราะห์ t-test ตัวแปร เพศ ได้เนื่องจากประชาการทั้งหมดมีเพียงกลุ่มเดียว คือ เพศชาย วิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยสถิติ f-test (Analysis of variance : ANOVA) พบว่าอายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศ ตำแหน่ง และระยะเวลาปฏิบัติงาน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการเก็บกู้วัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิด สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ยกเว้นเงินเดือนและเงินเพิ่มพิเศษ เมื่อทำการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Least Square Difference (LSD) พบว่าเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้วัตถุระเบิด สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่มีเงินเดือนและเงินเพิ่มพิเศษ 7,000-15,000 บาท กับ 15,001-23,000, 23,001-31,000, 31,001-39,000, มากกว่า 39,000 บาท มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเก็บกู้วัตถุระเบิด ด้านการบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุ ด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และด้านความปลอดภัย แตกต่างกัน และทดสอบถดถอยพหุคูณ Multiple linear Regression พบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ปัจจัยค้ำจุนด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด สังกัด กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Best, J. W. (1977). Research in education Englewood Cliffs, NJ. Prentice-Hall.
Border Security Management Plan (2016 - 2021). Retrieved January 20, 2019, from http:// www.nsc.go.th/Download/แผนบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง.pdf. (In Thai).
Gilmer. B. V. (1971). Industrail Psychology. New York: McGraw-Hill, Book Company.
Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. (1959). The motivation to work (2nded.). New York: John Wiley and Sons.
Khunsak, A. (2016). Work Motivation among Police Officials at Trat Provincial Police. Master thesis, M.P.A., Burapha University. Chonburi. (In Thai).
Police Ordnance division. (2004). Brief Document. Bangkok. Stapled copy of document.
Ordnancer Royal Thai Army. Basic Course of Explosive Detection and Disposal. (copy). (In Thai).
Semsawasdi, K. (2016). Guidlines to help mitigate risks of bombs used to set a stage for insurrection which impacts the national security. Thailand National Defence College.
Thanthanapornchai, W., Sudcharoen, Y. and Kunides, N. (2017). Influential Factors on Crime Scene Investigation of Police Officers in Metropolitan Police Division 6. 8th National & International Conference, 1(8), pp. 2194 – 2202. (In Thai).
Thuemkla, P. (2009). Motivation and Performance of Police Officers of Technology Crime Suppression Division. Master thesis, M.B.A., Chandrakasem Rajabhat University. Bangkok. (In Thai).