การพัฒนาองค์ความรู้ของพนักงานสืบสวนในการใช้สายลับสำหรับคดียาเสพติด : ภายใต้โครงการ การพัฒนาสุขภาพและการยกระดับคุณภาพชีวิตข้าราชการตำรวจ ตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ

Main Article Content

บันดล สุยะเพี้ยง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของพนักงานสืบสวนในการใช้สายลับสำหรับคดียาเสพติดและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของพนักงานสืบสวนในการใช้สายลับสำหรับคดียาเสพติด


           ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการปฏิบัติงานของพนักงานสืบสวนในการใช้สายลับสำหรับคดียาเสพติดนั้น มีการดำเนินการอยู่ 7 ขั้นตอน คือ (1) การประชุมวางแผน (2) การจัดเตรียมพยานหลักฐาน (3) การออกเดินทางออกจากที่ทำการ (4) การตรวจค้นจับกุม (5) การเขียนบันทึกตรวจค้นจับกุม (6) การนำตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยของกลางส่งพนักงาน (7) การเตรียมตัวเป็นพยานศาล
ซึ่งทั้ง 7 ขั้นตอนนี้พนักงานสืบสวนต้องมีการพัฒนาตนเองและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการซักถามและการสอบปากคำ การสังเกตและจดจำ มีปฏิภาณไหวพริบและมีความรอบรู้ด้านกฎหมายเพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยพนักงานสืบสวนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้สายลับสำหรับคดียาเสพติด แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานจริงดังนี้ (1) พนักงานสืบสวนส่วนใหญ่ไม่เคยนำสายลับไปเบิกความเป็นพยานศาลร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม เนื่องจากต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสายลับ และ (2) มาตรการสืบสวนสอบสวนพิเศษ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณายาเสพติด พ.ศ.2550 ได้แก่ การปฏิบัติการอำพรางและการครอบครองยาเสพติดภายใต้การควบคุม ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงในการปราบปรามยาเสพติดในระดับสถานีตำรวจ จึงได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของพนักงานสืบสวนในการใช้สายลับสำหรับคดียาเสพติด ให้มีการจัดฝึกอบรมให้พนักงานสืบสวนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ โดยเชิญเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมมาเป็นผู้ให้ความรู้ เช่น ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ รวมถึงเจ้าพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อให้พนักงานสืบสวนมีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและความรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากขึ้น และผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะต้องให้การสนับสนุนปัจจัยในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เช่น กำลังพล งบประมาณ รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามยาเสพติด เพื่อทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานสืบสวนในคดียาเสพติดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Angsananon, E. (2007). Criminal Process. Bangkok: Ramkhamhaeng University Printing. (In Thai).

2. Chanwit, W. (2013). Happy Work Place. Bangkok: Songkhacreation Company Limited. (In Thai).

3. Chayapan, P. (1994). Criminal Investigation. Bangkok: Wan Mai Printing. (In Thai).

4.Chonthawornpong, P. (2017). The Admissibility of Unlawfully Obtained Evidence under
Thai Criminal Procedural Code. Master of Law Thesis Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).
5. Kemewani, R. (2019). Knowledge of Criminal Investigation. Nakhonpathom: Petkasem Printing. (In Thai).
6. Intaravicha, S. (2005). The Finding of Evidence from Suspect’s Body: Study of Physical
Examination and Body Search in Criminal Procedure. Master of Law Thesis Dhurakit Pundit University, Bangkok. (In Thai).

7. Office of the Narcotics Control Board. (2019). Annual Report 2019. Bangkok: Bangkok Block Limited Part.

8. Pakdeenarunat, S. (2013). 4 Dimensions. Nontaburi: Green Apple Graphic Printing. (In Thai).

9. Suyapiang, B. (2012). Criminal Investigation. Nakhonpathom: Petkasem Printing. (In Thai).

10. Somkling, C. (2017). Sting Operation of Narcotic Law Enforcement Officers: A Study of Law Enforcement Officer Performances. Master of Law Thesis Dhurakit Pundit University, Bangkok. (In Thai).

11.Suksuchom, T. (2015). Legal Enforcement of the official under the Law on the Use Special Investigation Techniques in Drug Cases. Master of Law Thesis Patumthani University, Patumthani. (In Thai).

12.Techakriangkrai, S. (2013). The Protector. Khonkhaen: Pen Printing. (In Thai).

13. Thanakoses, S. (2010). Crimes Fighter. Bangkok: Bangkok Printing (1984). (In Thai).

14. Udomphon, P. (2019). Drug Temptation and Drug Cases Expantion. Nakhonpathom: Petkasem Printing. (In Thai).

15. Vimollohakar, M. (2010). Seeking Evidences in Drugs Cases by Using Special Investigation
Methods. Master of Law Thesis Thammasat University, Bangkok. (In Thai).

16.Warin, P. (2011). Factual Discovery in Narcotics Cases: A Case Study on the Admissibility of Confidential Informants as Witness. Master of Law Thesis Thammasat University, Bangkok. (In Thai).