การธำรงบุคลากรของหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย “อรินทราช 26”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการทำงานและภารกิจของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลในประเทศและต่างประเทศ (2) สาเหตุการย้ายออกนอกหน่วยของบุคลากรของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลในประเทศ และ (3) แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลในประเทศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรเป้าหมายเป็นระดับชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตรและระดับผู้บังคับบัญชา ได้แก่ (1) บุคลากรที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายสากล อรินทราช 26 (2) บุคลากรที่ปัจจุบันยังคงปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายสากล อรินทราช 26 และ (3) ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย ของกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ประชากรเป้าหมาย รวมจำนวน 26 ราย
ผลการศึกษา พบว่า หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลในประเทศและต่างประเทศเป็นหน่วยงานที่มีขีดความสามารถสูง อันเป็นผลมาจากการฝึกที่หนักเพื่อปฏิบัติภารกิจที่มีความเสี่ยง ซึ่งต้องใช้บุคลากรที่มีความสามารถและความชำนาญเฉพาะทาง ในส่วนปัจจัยจูงใจที่เป็นสาเหตุของการย้ายออกนอกหน่วยของบุคลากรของหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายสากลในประเทศ“อรินทราช 26” คือ การเลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงาน และอิทธิพลทางการเมือง สำหรับแนวทางการธำรงรักษาบุคลากรของหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลในประเทศ “อรินทราช 26” คือ ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น สวัสดิการ เงินเพิ่มพิเศษ และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ (1) ควรมีการปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้บุคลากรภายในหน่วยที่มีความชำนาญพิเศษเฉพาะทาง (2) ควรกำหนดการเลื่อนตำแหน่งในสายงานให้ชัดเจน ทั้งของชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตรเพื่อให้บุคลากรมีโอกาสก้าวหน้า (3) ควรมีการวางแผนกำลังคนภายในหน่วย เพื่อลดความเสี่ยงภาวะขาดแคลนบุคลากรด้านต่อต้านการก่อการร้าย (4) ควรมีงบประมาณรองรับการฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับบุคลากรในหน่วย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Bureaucracy. Master of Business Administration with Concentration on Human Resource and Organization Management Thammasat Business School Thammasat University, Bangkok. (In Thai)
[2] Herzberg F., Mausner, B. & Snyderman, B. (1959). The Motivation to work. New York:
John Wiley & Sons.
[3] Petcharat, W., Sadangharn, P. & Kruapong, A. (2013). Talent Retention and Intention to
Stay of Talented People in an Industrial Estate, Chonburi Province. WMS Journal
of Management Walailak University. 2(2), 59-70. (In Thai)
[4]Topanichsuree, P. (2010). Factors influencing talent retention: A case study of civil
servant. Master of Business Administration Thammasat University, Bangkok.
(In Thai)