การบริหารการจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยการจราจรทางบกในประเทศไทย และ (2) แนวทางการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาสืบค้นเอกสาร สำรวจการดำเนินการด้านการจราจรในพื้นที่ในจังหวัดเป้าหมาย 5 ภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น (1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าหน่วยงานส่วนกลาง ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานส่วนภูมิภาค ได้แก่ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ขนส่งจังหวัด แขวงทางหลวง ผู้อำนวยการกองช่างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง และสารวัตรงานจราจร จำนวนกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 35 ราย (2) การสนทนากลุ่ม มีประชากรเป้าหมาย คือ ผู้แทนระดับหัวหน้าและระดับผู้ปฏิบัติจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการตำรวจจราจร และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวนรวม 10 ราย และ (3) การสัมมนาวิพากษ์ผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกของประเทศไทย จำนวน 10 ราย
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของจราจรทางบกในประเทศไทยที่เป็นปัญหาหลักของหน่วยงานกลาง คือ ไม่มีหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักขาดระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน และงบประมาณในการบริหารไม่เพียงพอ จึงเสนอให้ก่อตั้งคณะกรรมการและหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการบริหาร กำหนดให้รายได้ที่รัฐได้จากการดำเนินงานในเรื่องจราจรหรือที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนน นำมาเป็นงบประมาณบูรณาการ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของจราจรทางบกในประเทศไทยที่เป็นปัญหาหลักของหน่วยงานระดับท้องถิ่น คือ มีข้อจำกัดด้านความรู้ในการจัดทำและบริหารแผนงาน การประสานงานและบทบาทหน้าที่แต่ละหน่วยไม่ชัดเจน รวมถึงปัญหาด้านพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน จึงเสนอให้มีการวางรูปแบบกรอบนโยบายและวางแผนงานจากฝ่ายต่าง ๆ เพื่อทำให้นโยบายสอดรับกันและเสนอให้มีการจัดตั้งศาลจราจร
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2.Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2011). Strategic navigation map in the decade of road safety in 2011-2020. Bangkok: Department of Disaster Prevention and Mitigation.
3.Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2019). Workshop and Reporting of the Prevention and reduction of road accidents during the festive season in the fiscal year 2019. Department of Disaster Prevention and Mitigation‘s Workshop document.
4. Kerdlarbpon, P. (2009). The possibility of establishing the traffic court in Thailand. Thesis of Senior Justice Management Program. College of Justice. Court of Justice.
5. Maneena, A. (2015). The Management effectiveness of reducing road accidents in Bangkok. Thammasat University Journal, 34(1).
6. Rungrojthanakul, C. (2016). The importance of the establishment of traffic court In Thailand. The law issue of Ramkhamhaeng University Journal, 5(2).
7. Soponpong, P., et al. (2016). Problem of Injury and death from traffic accidents in Kanchanaburi. Kanchanaburi Road Safety Center’s Meeting documents.
8. Sivaluk, P., et al. (2008). The study of the structure and mechanism of Policy formulation and supervision Road safety management in Thailand. Thai Health Promotion Foundation National Heath Foundation.
9.World Health Organization Office in Thailand. (2016). Legal and institutional road safety assessment in Thailand. Funded by the Bloomberg Foundation for public benefit and created by the World Health Organization office in Thailand.