การศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติงานด้านคนหาย และศพนิรนามภาคประชาสังคมของประเทศไทย

Main Article Content

รัชดาภรณ์ มรม่วง
อมรเทพ พลศึก
นารถธิดา สุศรี

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคสำหรับการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานด้านคนหาย และศพนิรนามของภาคประชาสังคม โดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย และการจัดกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อให้เกิดการยอมรับ และแนวทางในการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ ผลจากการวิจัยทำให้ได้ข้อมูลคนหายและศพนิรนามสำหรับการติดตาม การตรวจพิสูจน์ที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ที่สุด ตลอดจนเกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน อย่างมีระบบ แบบแผน และเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล


          จากการศึกษา พบว่า การดำเนินงานในภาคประชาสังคมด้านคนหายและศพนิรนามจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ ทั้งในเรื่องการปฏิบัติ การติดต่อประสานงาน และการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากประเทศไทยได้ประสบปัญหาของคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม มาเป็นระยะเวลานาน และยังขาดช่องทางการติดต่อประสานงานสำหรับการติดตามคนหาย และพิสูจน์ศพนิรนาม กลับคืนสู่ญาติผู้เสียหายได้ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดมาตรการในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยมีนโยบายในการป้องกัน การบริหารจัดการและเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ภาคประชาสังคมให้มีความรู้ในการปฏิบัติงานด้านการติดตามคนหายและศพนิรนาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Boonsang, S. (2014). Problems and Obstacles Among Volunteering Rescuers Working For Chachoengsao Volunteer Rescue Association. Master of Public Administration Program in General Administration, Burapha University. (In Thai).

2. Central Institute of Forensic Science. (2012). Regulation of the Office of the Prime Ministry for Missing Persons and Unidentified Persons Identification B.E.2015. Retrieved March 12, 2019, From https://www.cifs.moj.go.th/main/index.php/th/regulations/. (In Thai).

3. Civil Society Empowerment Institute. (2019). The Civil Society of Thailand. Retrieved March 12 , 2019. From https://thaicivilsociety.com/?p=content&id_content=250. (In Thai).

4.Chettha, S & Mektripob, W. (2005). ForeignSystem Development Volunteer in TRN Thailand under the TRRM Foudation. (Complete Research Report). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation and Sotsri-Sarit Wong Foundation. (In Thai).

5. International Committee of the Red Cross. (2019). Missing People, DNA Analysis and Identification of Human Remains: A Guide to Best Practice in Armed Conflicts and Other Situations of Armed Violence. Retrieved March 14, 2019, From https://www.icrc.org/eng/assets/files/other/icrc_002_4010.pdf/.

6. Phonork, J, 2008. Civil Society. Retrieved March 2, 2019, From https://www.royin.go.th/. (In Thai).
Royal Thai Government Gazette. (2018). Ministerial Central Institute of Forensic
Science Ministry of Justice. B.E. 2018. 135 (37 A). (In Thai).

7. The Committee on Development of Search of Missing Persons and Identification of Unidentified Remains System. (2019). Draft of Plan and Policy, Action plan of Missing Persons and Identification 2019 - 2022. Central Institute of Forensic Science of Justice Thailand. (In Thai).