เส้นทางการค้ามนุษย์ข้ามชาติ: กลไกการขับเคลื่อนกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่เสี่ยงระหว่างประเทศ

Main Article Content

อัจฉรา ชลายนนาวิน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางการค้ามนุษย์ข้ามชาติในพื้นที่เสี่ยงระหว่างประเทศ และศึกษากลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่เสี่ยงระหว่างประเทศโดยการศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการช่วยเหลือกลุ่มคนที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ข้ามชาติ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายในประเด็นกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในพื้นที่เสี่ยงระหว่างประเทศ จำนวน 25 คน


           ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางการค้ามนุษย์ข้ามชาติในพื้นที่เสี่ยงระหว่างประเทศเริ่มตั้งแต่
การคัดเลือกผู้เสียหาย โดยผู้ล่อลวงมักคัดเลือกผู้เสียหายที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศไทยนับเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการส่งต่อแรงงานบังคับค้าประเวณีจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ด้อยกว่า โดยมีลักษณะองค์กรข้ามชาติเพื่อส่งต่อแรงงานบังคับค้าประเวณีไปยังพื้นที่ปลายทาง ทั้งนี้กลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านถือเป็นกลุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งในการตกเป็นผู้เสียหายจากการบังคับค้าประเวณี ดังนั้น รัฐควรให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับกลุ่มเสี่ยง โดยการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมผู้ค้าแรงงาน หรือการปรับปรุงความเข้มงวดของการบังคับใช้กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง หรือการสร้างเครือข่ายเพื่อทำการรับมือกับปัญหาในเชิงรุก เพื่ออุดช่องว่างโดยทำการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Berger, S.M. (2012). No End In Sight: Why The End Demand Movement Is The Wrong Focus For Efforts To Eliminate Human Trafficking. Harvard Journal of Law and Gender, 35: 524 – 570.

2.David, F. ( 2005). Human Trafficking. New York: Raven Press.
Friedman, M., & R. Friedman. (1980). Free to Choose. Harmondsworth: Penguin Books.

3.Genicot, G. (2002). Bonded Labor and Serfdom: A Paradox of Voluntary Choice. Journal of Development Economics. 67(1): 101-127.

4.Global Slavery Index. (2019). Human Trafficking and Modern Slavery. Retrieved 15 January 2019. from https://www.ipoint-systems.com/blog/human-trafficking-and-modern-slavery.

5.International Labour Organization: ILO. (2014). Forced Labour modern slavery and human trafficking. Retrieved 27 November 2018. from https://www.ilo.org/global/ topics/forced-labour/lang--en/index.htm.

6.International Labour Organization: ILO. (2017). Children in Hazardous Work. Retrieved 20 January 2019 from https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/@dgreports/@dcomm/@publ/documents/publication/wcms_155428.pdf

7.International Affair Forum. (2017). Interview with Dr. Luke S. Bearup: Human Trafficking Retrieved 23 January 2019 from https://www.ia-forum.org/Content/ViewInternalDocument.cfm?ContentID=8625.

8.Louise, S. (2010). Human Trafficked Global Perspective. Cambridge: Cambridge University Press.

9. Parliament of the United Kingdom. (2003). Sexual Offences Act 2003. Retrieved 20 June 2019. from https://www.homeoffice.gov.uk/publications/police/operationalpolicing/guidance-part-2-sexual-offences?view=Binary.

10. The Minnesota Department of Health: MDH. (2016). Sex Trafficking and Prostitution. Retrieved 20 June 2019.from https://www.theadvocatesforhumanrights.org/uploads/sextrafficking_and_prostitution_10_15.pdf.

11.UNIAP. (2012). Human Trafficking 101. Geneva: UNIAP.

12.Walby, S. et.al. (2016). Study on the Gender Dimension of Trafficking in Human Being. Luxembourge: Publications Office of the European Union.

13.World Health Organization: WHO. (2018). Human Trafficking. Retrieved 20 June 2019. from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/77394/WHO_RHR_12.42_eng.pdf;jsessionid=EAD07292DFEE9FF75DFDD73D73F078B8?sequence=1.