ปัจจัยการก่ออาชญากรรมทางเพศและพยานหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการตัดสินคดี ของผู้ต้องขังคดีข่มขืนกระทำชำเรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาชญากรรมในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบและเกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ แต่มีอาชญากรรมอยู่รูปแบบหนึ่งที่เป็นความสนใจของสังคมไทยมากนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คืออาชญากรรมทางเพศ เพราะสังคมไทยถือว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นคดีที่สะเทือนใจสังคมไทยมากอีกคดีหนึ่งเช่นคดีข่มขืนและฆ่าเด็กหญิงอายุ 13 ปีบนรถไฟขาขึ้นนครศรีธรรมราช – กรุงเทพฯ ที่เป็นข่าวครึกโครม ในช่วงปี พ.ศ.2557 อาชญากรรมทางเพศเป็นเรื่องที่ผิดทั้งกฎหมาย และผิดศีลธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกาย และจิตใจของเหยื่อและครอบครัวซึ่งหากเป็นเด็กก็จะเหมือนเป็นตราบาปอย่างรุนแรงต่อเนื่องไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กเหล่านั้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ บางส่วนมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นผู้ก่อปัญหาลักษณะเดียวกันนี้กับเด็กคนอื่นต่อไปเป็นลูกโซ่ไม่จบสิ้น งานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นผู้ต้องขังคดีข่มขืนกระทำชำเราจำนวน 21 คน จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยในการเกิดเหตุ คือ (1) ปัจจัยภายในของผู้ต้องขังคดีข่มขืนกระทำชำเรา (2) ปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุของการก่อและกระทำผิดคดีข่มขืนกระทำชำเรา (3) ลักษณะสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ที่กระทำความผิดและพยานหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่นำไปสู่การตัดสินคดี โดยทุกปัจจัยล้วนมีความเชื่อมโยงในด้านกระบวนการและเป้าหมายคือการป้องกันบุคคลทั่วไปให้ไม่ตกเป็นเหยื่อการข่มขืนกระทำชำเราในทุกด้านเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงเบื้องต้น โดยในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุของการก่อและกระทำความผิดคดีข่มขืนกระทำชำเรา คือผู้กระทำความผิดมีความต้องการทางเพศ หรือมีการใช้สารเสพติด ปัจจัยภายนอกของผู้เสียหายที่มีส่วนทำให้ผู้กระทำผิดทางเพศตัดสินใจลงมือก่อเหตุ คือ การแต่งกายน้อยชิ้น หรือเดินคุยหรือเล่นโทรศัพท์ขณะเดินทาง ส่วนพยานหลักฐานที่ในการตัดสินคดีข่มขืนกระทำชำเรามากที่สุดคืออาวุธที่กระทำผิด รองลงมาคือลายนิ้วมือแฝง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. Intawiwat, E. (1998). Factors relation to violence of sezual crimes especially in rape offenders. Thesis of Master’s degree in Social Work (Social Welfare Administration and Policy). Thammasat University. (In Thai).
3. Jaikwang, P. (1999). Social factors on the juvenile rape of the male prisoners: case study at Udornthani Central Prison. Bangkok. Thesis of Master’s degree in Social Work. Thammasat University. (In Thai).
4. Katumarn, P. (2003). Happy with teenagers. Bangkok. Mahidol University. (In Thai).
5. Moontichai, P. (1998). Social surrounding factors which related to violence of sexual offense of juvenile delinquency : a specific study of rape. Thesis of Master’s degree in Arts Program in Criminology and Criminal Justice. Mahidol University. (In Thai).
6. Tanchainan, S. (2011). Sanglaomaitaothiem. Bangkok. Chian Thian Choen. (In Thai).
7. Tingsapatti, J. (2005). Criminal law 2 part 1. Bangkok: Thai Bar Association. (In Thai).