การสร้างนาฏกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของยาวชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

วิกรม กรุงแก้ว

บทคัดย่อ

นาฏกรรมเชิงสร้างสรรค์เรื่อง คน-ขยะ-ทะเล เพื่อการปลูกฝังจิตสำนึกของเยาวชนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นาฏกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายในการปลูกฝังจิตสำนึก ของเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงสร้างสรรค์ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสอบถามความตระหนักรู้จากเยาวชนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 30 คน
การวิจัย พบว่านาฏกรรมเรื่อง คน-ขยะ-ทะเล จัดสร้างในรูปแบบละครเวทีแนวแฟนตาซี โดยนำสภาพปัญหาขยะในสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเล และสุขภาพมนุษย์มาสร้างเป็นโครงเรื่อง บทละคร เนื้อร้อง ทำนองเพลง อุปกรณ์ ฉาก เครื่องแต่งกาย และองค์ประกอบศิลป์ขึ้นใหม่ มีระยะเวลาการแสดง 45 นาที ดำเนินเรื่องออกเป็น 5 ฉาก 1) ปฐมบท สาเหตุการเกิดปัญหาขยะ 2) มหัศจรรย์ทะเลไทย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล 3) เพชฌฆาตโลกสีคราม การทำลายทรัพยากรทางทะเลด้วยการทิ้งขยะ 4) สูญสิ้น ปัญหาขยะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล และ 5) ภาพสะท้อน ภัยร้ายจากปัญหาขยะส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ อีกทั้งผลการสอบถามความตระหนักรู้ของเยาวชนกลุ่มเป้าหมายก่อนชมนาฏกรรม พบว่าเยาวชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลอยู่ในค่าเฉลี่ยระดับมาก (x̄ = 3.67) เท่ากับร้อยละ 73.42 และหลังชมนาฏกรรม เยาวชนเกิดความตระหนักรู้และเล็งเห็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52) เท่ากับร้อยละ 90.33 ด้วยการใช้สถิติ T-test Dependent เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินด้านค่าเฉลี่ยก่อนและหลังชมนาฏกรรม สามารถสรุปได้ว่านาฏกรรมเชิงสร้างสรรค์เรื่อง คน-ขยะ-ทะเล สามารถใช้เป็นแนวทางในการปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน โดยการนำสาระความรู้ที่สอดแทรกในนาฏกรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการหรือกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป


     การวิจัย พบว่านาฏกรรมเรื่อง คน-ขยะ-ทะเล จัดสร้างในรูปแบบละครเวทีแนวแฟนตาซี โดยนำสภาพปัญหาขยะในสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเลและสุขภาพมนุษย์มาสร้างเป็นโครงเรื่อง บทละคร เนื้อร้อง ทำนองเพลง อุปกรณ์ ฉาก เครื่องแต่งกายและองค์ประกอบศิลป์ขึ้นใหม่ มีระยะเวลาการแสดง 45 นาที ดำเนินเรื่องออกเป็น 5 ฉาก 1) ปฐมบท สาเหตุการเกิดปัญหาขยะ 2) มหัศจรรย์ทะเลไทย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล 3) เพชฌฆาตโลกสีคราม การทำลายทรัพยากรทางทะเลด้วยการทิ้งขยะ 4) สูญสิ้น ปัญหาขยะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล และ 5) ภาพสะท้อน ภัยร้ายจากปัญหาขยะส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ อีกทั้งผลการสอบถามความตระหนักรู้ของเยาวชนกลุ่มเป้าหมายก่อนชมนาฏกรรม พบว่าเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลอยู่ในค่าเฉลี่ยระดับมาก ร้อยละ 73.42 (x̄=3.67) และหลังชมนาฏกรรมเยาวชนเกิดความตระหนักรู้และเล็งเห็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 90.33 (x̄=4.52) ด้วยการใช้สถิติ T-test Dependent เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินค่าเฉลี่ยก่อนและหลังชมนาฏกรรม ผลสรุปว่านาฏกรรมเชิงสร้างสรรค์เรื่อง คน-ขยะ-ทะเล สามารถเป็นแนวทางต่อการปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน โดยการนำสาระความรู้ที่สอดแทรกในนาฏกรรมไปประยุกต์ใช้ในการเนินชีวิตอีกทั้งยังเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการหรือกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anawatsiriwong, T., Sintupan, J., Sompaiboon, S., and Akarachantachot, P. (2004). Suntharīya Nithētsāt Kānsư̄sān Kān Sadǣng Læ Sư̄ čhinta khadī [Aesthetic Communication of Performance Art and Imaginative Media] (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Changcouea, S. Marine and Coastal Resources Office (2021, November 29). Interview.

Office of the Prime Minister. (2016). Sarup Sāra Samkhan Phǣn Phatthanā Sētthakit Læ Sangkhom Hǣng Chāt Chabap Thī Sipsō̜ng Phō̜. Sō̜. 2560-2564 [The Conclusion of the National Economic and Social Development Plan Vol. 12 2017 - 2021] . Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board. https://www.nesdc.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12.pdf.

Pinnukul, P. Phuket Rajabhat University. (2021, November 7). Interview

Phuket Public Trash Management Center. (2019). Phǣn patibatkān čhatkān khaya mūnfō̜i chumchon čhangwat saʻāt pračham pī phō̜. sō̜. 2562 [Phuket Community Trash Management Plan 2019]. Phuket: Phuket Public Trash Management Center.

Pongvat, S. Phuket Rajabhat University. (2021, November 3). Interview.

Rattanin, M. (2003). Khwāmrū bư̄angton kīeokap sinlapa kānkam kap kān sadǣng lakhō̜n wēthī [Introduction to the art of theatre directing] . Bangkok: Thammasart University.

Total Solid Waste Disposal Center Phuket. (2019). Phǣn patibatkān čhatkān khaya mūnfō̜i chumchon čhangwat saʻāt pračham pī phō̜. sō̜. 2562. [Phuket Provincial Community Solid Waste Management Action Plan 2019] . Phuket: Phuket Public Trash Management Center.

Virunrak, S. (2000). Nāttaya sin parithat [Periscope dance]. Bangkok: Chulalongkorn University.