ศิลปะมัลติมีเดียสุภาษิตล้านนา

Main Article Content

วรรณุฉัตร ลิขิตมานนท์

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง “ศิลปะมัลติมีเดียสุภาษิตล้านนา” คำนึงถึงแนวทางการวิจัย เพื่อบูรณาการความรู้ ในด้านวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นภาคเหนือ ประสานเข้ากับแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแบบร่วมสมัย และเพื่อผลักดันห้วข้อวิจัยในครั้งนี้ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านล้านนาสร้างสรรค์


ที่มาและความสำคัญของเรื่องคําสุภาษิตล้านนานั้น คำสุภาษิตล้านนาเป็นประโยคข้อคิด หรือเป็นปรัชญาทางภาษาที่ใช้สื่อสารให้เกิดการกระตุ้นเตือนสติในการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นภาคเหนือ ความพิเศษในสำนวนภาษาล้านนา ก่อให้เกิดแรงปรารถนาที่จะนำมาเป็นสาระสำคัญในการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะเชิงทดลอง โดยจะต้องค้นคว้าหาความหมายในด้านปรัชญาภาษาประจำถิ่น และนำเข้าสู่การพัฒนาเป็นผลงานศิลปะแบบร่วมสมัย


วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะมัลติมีเดียที่ประกอบไปด้วย คําสุภาษิตล้านนา ซึ่งเป็นสื่อกลางในการกระตุ้น ให้ผู้ชมได้ฉุกคิด และตระหนักถึงจริยธรรมในการดำรงอยู่ร่วมกันได้ และ เพื่อนำเอาคำสุภาษิตล้านนามาปรับการสร้างในรูปแบบผลงานศิลปะ จะเป็นอีกวิธีทางหนึ่งของการเผยแพร่  ทั้งนี้ผลงานสร้างสรรค์ในหัวข้อวิจัยเรื่อง “ศิลปะมัลติมีเดียสุภาษิตล้านนา” จะประกอบไปด้วยผลงานสร้างสรรค์จำนวน 2 ชุด คือ ผลงานลวดลายฉลุคําสุภาษิตล้านนา และ ผลงานภาพเคลื่อนไหวคำสุภาษิตล้านนา


ผลงานสร้างสรรค์ทั้ง 2 ชุด จะสื่อสารความหมายร่วมกันภายใต้แนวความคิดที่มุ่งให้ผลงานศิลปะในลักษณะมัลติมีเดียเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดประเด็นฉุกคิดจากสาระความหมาย ของคำสุภาษิตล้านนา ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ให้ผู้รับชมได้เกิดประสบการณ์ที่แตกต่าง จากการเรียนรู้คติ ความเชื่อ คำสุภาษิตล้านนาในรูปแบบเดิม


ท้ายที่สุดผลงานสร้างสรรค์จากการวิจัยครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จในแนวทางการพัฒนานำเอาต้นทุนทางความรู้ในด้านวัฒนธรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ จากงานหัตถศิลป์ล้านนา และการนำเอาคำสุภาษิตล้านนามาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะแบบร่วมสมัย ซึ่งสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้านล้านนาสร้างสรรค์ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ยังรับประสบการณ์ที่จะเป็นแนวทางในการนำมาพัฒนาหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม​ศึกษาประจำท้องถิ่นภาคเหนือ และจะนำมาพัฒนาเข้าสู่หัวข้อการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในครั้งต่อไป 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Artnet Worldwide Corporation. (2020). Lawrence Weiner. Artnet Worldwide Corporation. http://www.artnet.com/artists/lawrence-weiner.

Artnet Worldwide Corporation. (2019). Jason Rhoades: Tijuanatanjierchandelier. [Picture]. Artnet Worldwide Corporation. https://www.artnet.com/galleries/david-zwirner/jason-rhoades-tijuanatanjierchandelier.

Boonsong, A. (2018, December 25). ongkhwāmrū phāsā watthanatham dōi samnakngān rātchabanthittayasaphā [Knowledge of language and culture by the Office of the Office of the Royal Society]. Office of the Royal Society. http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/2019/01/12282561ภาษิตล้านนา.pdf.

Cheewajitmedia. (2018, April 20A). Chīwit Nī Mī Tǣ Hai Khō̜ng Tik Chirō Manatwin Nanthasēn. [The sacrifice life of Tik Shiro Manaswin Nantasen]. Good life update. http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/inspiration/29721.html.

Cheewajitmedia. (2018, April 5B). Naowarat Yuktanan Nāngfā Khō̜ng Rāng Thī Rai Winyān. [Nawarat Yuktanan, the angel of the soulless body]. Good life update. http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/inspiration/67.html.

Cuddy, D. (2014, November 20). Jason Rhoades. Widewalls. https://www.widewalls.ch/artist/jason-rhoades.

Definition and history of printing. (2010). Printing Technology. https://xn--12cf0dj0aaufkr9l0ai2m6ab4p.blogspot.com/p/blog-page_5.html.

Himeism. (2010, March 10). Kirigami – Japanese Art of Papercutting. Himeism Blog Wordpress. https://himeismblog.wordpress.com/tag/kirigami.

Khemmuk, Y. (2010). Chō̜ Læ Tung: Sin Hǣng Satthā Phūmpanyā Thō̜ngthin [Chor and Tung: The Art of Faith, Local wisdom]. Chiang Mai: Chiangmai Rajabhat University.

Kojima, N. (2020). Paper Art Professionals. Solo Kojima. http://www.solokojima.com/paper-art.

Kojima, N. (2013). BYAKU, ORKNEY (2013) [Picture]. Solo Kojima. http://www.solokojima.com/byaku-photos.

Lane, C. (2019). Covet Rug Drum (2009) . [Picture]. Bydealers. https://bydealers.com/auction/post-war-and-contemporary-may-26th-2019/covet-rug-drum.

Lane, C. (2016). September Gallery. http://septembergallery.com/space/cal-lane.html

Lawrence Weiner at Dvir Gallery. (2018). Art Viewer [Picture]. https://artviewer.org/lawrence-weiner-at-dvir-gallery.

Natrop, C. (2011). Great River Mashup. chris natrop studio. https://www.chrisnatrop.com/portfolio/great-river-mashup.

Natrop, C. (2010). Chris Natrop [Picture]. Nancy Toomey Fine Art. https://nancytoomeyfineart.com/artists-exhibitions/chris-natrop.

Niran A, P. (2004). Tung Lānnā Phūmpanyā Khō̜ng Banpachon. [Tung Lanna, the wisdom of our ancestors]. Chiang Mai: Anupong Co.,Ltd. Publishing.

Lertchaiprasert, K. (2014). Before Birth, After Death [Sculpture]. Numthong Gallery. https://gallerynumthong.com/2014-before-birth-after-death-sculpture.

Payomyong, M. (2007). Thīan Sō̜ngčhai (Khati Sončhai Chāo Lānnāthai) [Lanna Moral Teaching]. Chiang Mai: S. Sup Printing R.O.P.

Phakham, P. (2015). Suphāsit Lānnā: Kān Wikhro̜ Khunnaphāp Sī Prakān Tāmpha Ra Rāt Damrat Khō̜ng Phrabām Mahārāt. [Lanna Proverbs: An Analysis of His Majesty King Bhumibol Adulyadej' The Great Concept of The Four Virtues] [Master’s thesis], Naresuan University.

Phimanrat, L. (2015, November 28). Messages from nowhere to nowhere. Piyaratpiyapongwiwat. https://www.dropbox.com/s/y0rwyzhngaawn63/mfntn_e-catalogl.pdf?dl=0.

Piyapongwiwat, P. (2015, October 3). Messages from nowhere to nowhere [Photograph]. LYLA Gallery. http://www.piyaratpiyapongwiwat.com/messages-nowhere-nowhere-0.

Pornpenpipat, C. (2003). Tung Mō̜radok Phǣndin Lānnā. [Tung: Lanna heritage]. Bangkok: Ton Or 1999.

Selby, A. (2009). Art and Text. London: Black Dog.

Sueb San Lanna Foundation, Sueb San Lanna wisdom school, Sueb San Lanna wisdom school Welfare Fund, and Sittipraneet, B. (2019, March 12). Kān Tat Chalu Kradāt Lānnā. [Lanna Paper Cutting]. Open Educational Resources. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/117383#oer_data.

Thammathi, S. (2017). Thō̜ikham Samnūan Lānnā Lem Nưng [Lanna idiomatic wording issue 1]. Chiang Mai: Suthep Printing and Media.

Trebbi, J. (2019). Art of Cutting: Traditional and New Techniques for Paper, Cardboard, Wood and Other Materials. United Kingdom: Promopress.

Ungpra, N. (2003). Thritsadī Bukkhalikkaphāp Læ Kān Prap Tūa. [Personality and Adaptation theory]. Bangkok: Thammasat University.